การศึกษาการจัดระบบการจัดการความขัดแย้งในระบบการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ประกิจ โพธิอาศน์ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง, ระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาข้อร้องเรียนบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (2) เปรียบเทียบผลการฝึกอบรมความรู้การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีก่อนและหลัง (3) พัฒนาระบบการจัดการความขัดแย้งบริการของหน่วยบริการ (4) วิเคราะห์กรณีความขัดแย้งบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจากการเจรจาไกล่เกลี่ยด้วยสันติวิธี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Method) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เอกสารการประชุมพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้น, แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม, แบบประเมินมาตรฐานการดำเนินงานรับเรื่องร้องเรียน, การวิเคราะห์กรณีความขัดแย้งบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย Paired     t-test ส่วนเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหากระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย

            ผลการวิจัยพบว่า

            (1) ปัญหาข้อร้องเรียนเกิดกับผู้รับบริการ อายุต่ำกว่า 5 ปี และอายุ 6–20 ปี ตามลำดับ ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ บิดา, มารดา เกิดขึ้นในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สาขาที่ถูกร้องเรียนบ่อยที่สุดตามลำดับ ได้แก่ สูติกรรม, ระบบทางเดินอาหารและศัลยกรรมสมอง เหตุที่ร้องเรียนเกิดจากการวินิจฉัยโรคล่าช้า และเกิดจากการรักษาโดยตรง ตามลำดับ และพิจารณาเข้าเกณฑ์รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ร้อยละ 73.3

            (2) เปรียบเทียบผลการฝึกอบรมความรู้การจัดการความขัดแย้ง พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

            (3) การพัฒนาระบบการจัดการความขัดแย้ง มีการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและมีการประเมินศูนย์รับเรื่องร้องเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 5 ด้าน

            (4) การวิเคราะห์กรณีศึกษา พบว่า ความขัดแย้งยุติลงบนพื้นฐานการสร้างความไว้วางใจ ค้นหาจุดยืน จุดสนใจ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ทำให้ผู้ให้และผู้รับบริการมองปัญหาร่วมกัน หาทางออกร่วมกัน ไม่เกิดการฟ้องร้อง ข้อเสนอ คือ ทุกกรณีร้องเรียนควรใช้กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยควบคู่กับระบบการบริหารความเสี่ยงของหน่วยบริการและพัฒนาการทำงานเชิงรุกกับชุมชนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ

References

กนกวรรณ สินลักษณทิพย์. (2552). ผลการพัฒนารูปแบบการรับฟังและการจัดการเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. (ครั้งที่ 1). ราชบุรี : โพธาราม

โชติช่วง ทัพวงศ์. (2558). คู่มือนักเจรจาไกล่เกลี่ย. (ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 1(3), 205.

บุญศักดิ์ หาญเทิดสิทธิ์. (2555). เรื่องแนวคิดปัจจุบันของการเปิดเผยความผิดพลาดทางการแพทย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 6(1),21.

รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์. (2559). ปัจจัยผลักดันระบบที่สำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. การศึกษาภาพอนาคตและเส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยั่งยืน ของประเทศไทย. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย.กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข

วันชัย วัฒนศัพท์และนพพร โพธิรังสิยากร. (2553). คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน คู่มือการจัดการสร้างความปรองดองในระบบบริการสาธารณสุข. (ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

อนุชา กาศลังกา. (2555). การศึกษาปัญหาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องเนื่องจากการรักษาพยาบาล. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 9(1), 57-69

อภิรดี พลีน้อย,บรรพต ต้นธีรวงศ์และอดุลย์ ขันทอง .(2555). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งในชุมชนโดยใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชนโดย อาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 39 -25.

สำนักกฎหมาย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดำเนินงานช่วยเหลือเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์

ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข. (2558). การจัดการความขัดแย้งด้านสาธารณสุข. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการข้อร้องเรียนฟ้องร้องระบบหลักประกันสุขภาพโดยการเจรจาไกล่เกลี่ยด้วยสันติวิธี. การฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ปีงบประมาณ 2558. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27