ความรู้ การรับรู้ ต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกประชากรกลุ่มอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ความรู้, การรับรู้, การมีส่วนร่วม, โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross- Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับการรับรู้ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของประชาชนอายุ 25-59 ปี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 481 คน และเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 360 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ เชิงวิเคราะห์ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson's Product Moment Correlation Coefficient สถิติ Point Biserial Correlation และสถิติ Kendall’s Tua
ผลการวิจัย พบว่าภาพรวมประชาชนกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีระดับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 56.94 ประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 94.44 ภาพรวมประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมระดับมากในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า เพศ อายุ ระดับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ระดับการรับรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับต่ำในทิศทางเดียวกัน และพบว่าสถานภาพสมรส อาชีพ การได้รับข่าวสารโรคไข้เลือดออก แหล่งที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับต่ำในทิศทางตรงกันข้าม สำหรับวุฒิการศึกษา พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอายุ 25-59 ปี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและร่วมวางแผนเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก รวมทั้งควรมีมาตรการระบบการให้ข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถสื่อสารเข้าถึงทุกครัวเรือน
References
กิตติ ยิ้มสงวน .(2553). การรับรู้ของประชาชนต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรมควบคุมโรค. (2559).การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]: [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560].แหล่งข้อมูล : http://www.thaivbd.org/n/contents/view/324818
ดลนภา หงส์ทอง และคณะ .(2552). ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.
พูนสุข ช่วยทอง และคณะ.(2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารเกื้อการุณย์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2556. กรุงเทพฯ.
มนตรี มะลิต้น และคณะ.(2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นปีที่ 6 ฉบับที่1 เดือนมกราคม – มีนาคม 2556.
รอยฮาน เจ๊ะหะ และคณะ.(2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 . มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา: ยะลา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา