บทบาทของชนชั้นกับการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549 – 2557

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ ศรีธรรมกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

บทบาท, ชนชั้น, การเมืองไทยในช่วง พ.ศ.2549–2557

บทคัดย่อ

บทบาทของชนชั้นต่างๆ ในสังคม โดยพิจารณาจากสภาพสังคมการเมืองการปกครองของไทยในช่วง พ.ศ.2549–2557 พบว่า กลุ่มชนชั้นนำจะมีบทบาทสูงทางการเมืองในการกำหนดนโยบายชี้นำและใช้วาทกรรมทางการเมือง จนทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นล่าง ส่วนกลุ่มชนชั้นกลางนั้น จะมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และเป็นกำลังหลักต่อสู้กับรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม และช่วยขับเคลื่อนให้การต่อสู้มีพลังตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มชนชั้นล่างที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ก็ล้วนมีบทบาทอย่างยิ่งในทางการเมืองที่ผ่านมาเช่นกัน นักการเมืองหันไปอาศัยมวลชนซึ่งเป็นชนชั้นล่างของสังคมมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมือง แทนที่จะเป็นการต่อสู้โดยตรงกับชนชั้นกลางโดยตรง และพยายามที่จะยุยงให้ชนชั้นล่างเป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นกลาง จนเกิดเป็นความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยที่ยังดำเนินอยู่ในทุกวันนี้

References

จิตติมา อานสกุลเจริญ. (2558). ชนชั้นและยุคสมัยการเมืองการปกครองไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนครพนม.

จำลอง พรมสวัสดิ์. (2555). พฤติกรรมทางของชนชั้นกลางกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 25451-2553. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง), วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ และ เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2542). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนชั้นกลาง. กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ธัชวุฒิ จาดบันดิสถ์. (2551). “ความชอบธรรมของสถาบันทางการเมืองไทย: การศึกษาเปรียบเทียบ ทัศนะของชนชั้นกลางและชนชั้นล่างในเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นารีวรรณ กลิ่นรัตน์. (2550). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชนชั้นกลางไทยในกระแสโลกาภิวัตน์. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเวศ วะสี. (2551). การเมืองภาคพลเมือง. การพัฒนาการเมืองไปสู่ประชาธิปไตย, สถาบันพระปกเกล้า

พรทิพย์ แซ่เตียว. (2551). “รูปการจิตสำนึกในชนชั้นกรรมชีพของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ไทย: ศึกษาเฉพาะกรณี สมาซิกพรรคฯ ที่เคยปฏิบัติงานอยู่ในฐานที่มั่นจังหวัดน่าน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี, ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พิชญา สุกใส. (2554). การจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทย ระหว่าง พ.ศ.2547-2553. กรุงเทพฯ: ชมรมการจัดการความขัดแย้งแห่งประเทศไทย.

เอนก เหลาธรรมทัศน์. (2536). ม็อบมือถือชนชั้นกลางและนักธุรกิจกับการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ, มติชน

อัสมา หวังกุหลํา. (2556). บทบาททางการเมืองของชนชั้นกลางไทยในขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27