วีรชนบางระจันในประวัติศาสตร์ไทย : การสร้างตัวตนและสื่อความหมายในสังคมร่วมสมัย
คำสำคัญ:
บางระจัน, การสร้างตัวตน, การสื่อความหมายบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอวีรกรรมความกล้าหาญของวีรชนบางระจันในการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องชุมชนของตนเองในช่วงก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นประสบการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของไทยว่าด้วยความไร้ประสิทธิภาพทางการเมือง ความหย่อนสามัคคี และการสร้างความตระหนักให้คนร่วมชาติได้เห็นว่า แม้เป็นเพียงกลุ่มชาวบ้านก็สามารถมีส่วนร่วมในการปกป้องบ้านเมือง หาได้เป็นแต่เพียงหน้าที่ของชนชั้นปกครองเท่านั้น ความโดดเด่นของวีรชนบ้านบางระจันส่งผลให้ราชสำนักสยามเปิดพื้นที่ให้มีตัวตนในประวัติศาสตร์ราชสำนัก ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารหลายฉบับ เมื่อมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นทางการ วีรชนบางระจันกลายเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เรื่องราวที่มีความเป็นวรรณกรรมสูงยังได้รับการสื่อความหมายผ่านสื่อบันเทิงหลากหลายรูปแบบ เช่น วรรณกรรม ภาพยนตร์ ละคร เพลง เหล่านี้ล้วนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. (2550). พระราชพงศาวดารพม่า พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา.
ประชุมพงศาวดารเล่มที่ 2 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 6). (2506). พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา.
ประชุมพงศาวดารเล่มที่ 6 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 6). (2506). พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา.
ประชุมพงศาวดารเล่ม 23 (ประชุมพงศาวดารภาค 39 (ต่อ)-40). (2511). พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา.
ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก ฉบับที่ 3. (2542). กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. (2535). กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
บางระจัน. (2543). เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2560 จาก http://www.sahavicha.com
บางระจันวันเพ็ญ. (2543). เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2560 จาก http://chordza.blogspot.com
ศึกบางระจัน. (2551). เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2560 จาก http://www.thaifilm.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา