วีรบุรุษชาวบ้านในทัศนะของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : กรณีศึกษาพงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ เอี่ยมสุเมธ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

วีรบุรุษ, สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ, ภาพ ไทยรบพม่า

บทคัดย่อ

พงศาวดารไทยรบพม่าเป็นพระนิพนธ์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพที่อธิบายถึงสงครามระหว่างไทยกับพม่า เมื่อพิจารณาภูมิหลังของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระชนม์ชีพในช่วงเวลาที่สยามกำลังเผชิญกับอิทธิพลการเมืองจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ภายหลังมหาอำนาจอย่างจีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น เมื่อ พ.ศ. 2385 ส่งผลให้สยามต้องกลับมาทบทวนตัวเอง รวมทั้งตระหนักถึงภัยจักรวรรดินิยมและแรงกดดันทางการเมืองการปกครองแก่สยาม ในการนี้สยามเลือกที่จะการปรับตัว เปลี่ยนแปลงราชอาณาจักรให้ทันสมัยอย่างตะวันตก อย่างที่ทราบกันว่า การงัดง้างกับจักรวรรดินิยมตะวันตกในกรณีที่สยามเป็นราชอาณาจักรที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยาวนาน ส่งผลต่อความสนใจศึกษาโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสนพระทัยศึกษาประวัติศาสตร์และนิพนธ์ประวัติศาสตร์จำนวนมาก ไทยรบพม่านับเป็นผลงานสำคัญที่ทรงอิทธิพลต่อการรับรู้ประวัติศาสตร์ของชาวไทย ส่งผลให้เกิดความตระหนักถึงวีรกรรมความกล้าหาญของบรรดาวีรกษัตริย์ รวมไปถึงวีรบุรุษชาวบ้านที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการสังฆกรรมทางการเมืองของราษฎรทั้งหลาย ซึ่งเป็นการย้ำเตือนว่าไม่เฉพาะแต่ชนชั้นนำเท่านั้น วีรกรรมชาวบ้านที่สะท้อนผ่านไทยรบพม่าอธิบายถึงการมีส่วนรวมในการกอบกู้บ้านเมือง การเป็นส่วนหนึ่งทางสังคมในการต่อกรกับอริราชศัตรูเพื่อปกป้องแผ่นดิน เหล่านี้ สอดรับกับการเปรียบเทียบบทบาทของประชาชนที่ร่วมผลักดันสังคมให้เกิดความก้าวหน้า การสร้างสังคมที่เข้มแข็งอย่างร่วมใจกันในการต่อกรกับศัตรูทางการเมืองที่เปรียบจักรวรรดินิยมเป็นดังศัตรูทางการเมืองของไทยในอดีต

References

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ. (2560). พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 11. (2551). กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ศุภกาณฑ์ นานรัมย์. (2551). สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : การรับรู้ประวัติศาสตร์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2551). ประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของปัญญาชน : กรมพระยาดำรงราชานุภาพ: มโนทัศน์ "เมืองไทยและความเป็นไทย, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

How to Cite

เอี่ยมสุเมธ น., & นานรัมย์ ศ. (2022). วีรบุรุษชาวบ้านในทัศนะของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : กรณีศึกษาพงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 5(2), 47–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260352