This is an outdated version published on 2022-04-26. Read the most recent version.

ผีในกฎหมายตราสามดวง

ผู้แต่ง

  • สุวรรณภา กลิ่นอังกาบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • วิราวรรณ สมพงษ์เจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ผี, กฎหมายตราสามดวง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องผีในกฎหมายตราสามดวง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเชื่อเรื่องผีของคนไทยในสมัยอยุธยาผ่านการศึกษากฎหมายตราสามดวง พบว่าคติความเชื่อของคนไทยในสมัยอยุธยามีผลต่อการดำรงชีวิต ความผูกพันกับธรรมชาติ  และการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงก่อให้เกิดพิธีกรรมที่ตอบสนองกับความเชื่อ มีการเซ่นสรวงบูชาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “ผี” ที่เชื่อว่าสามารถให้คุณหรือให้โทษได้ ความเชื่อเหล่านี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยอยุธยาดังที่ปรากฏการลงโทษของผู้กระทำความผิดโดยมี “ผี” เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายตราสามดวง

References

กฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. (2548) สถาบันปรีดร พนมยงค์.

ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง ชุดที่ 1 วรรณคดีสมัยสุโขทัยและอยุธยา. (2551) กรุงเทพฯ: องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับชั่น.

รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน ฟลีต (วันวลิต) แปลโดย นันทา วรเนติวงศ์. (2548). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ลา ลูแบร์ ผู้แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์. (2557) สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

วิราวรรณ สมพงษ์เจริญ. (2550). คติความเชื่อของคนไทยสมัยสุโขทัย พ.ศ. 1729- พ.ศ. 2006. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

Versions