ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการศึกษาของชาวปกาเกอะญอ : กรณีศึกษาบ้านป่าคานอก หมู่ที่ 11 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ชาวปกาเกอะญอ, นโยบายเรียนฟรีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการศึกษาของชาวปกาเกอะญอ บ้านป่าคานอก 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาของชาวปกาเกอะญอ บ้านป่าคานอก และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการศึกษาที่เหมาะสมกับชาวปกาเกอะญอ บ้านป่าคานอกในอนาคต โดยวิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง 35 ราย
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการศึกษาของชาวปกาเกอะญอบ้านป่าคานอก มีปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยด้านสังคมเรื่องเครือญาติมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเข้ารับการศึกษา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเรื่องรายได้ที่เพียงพอมีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการศึกษา และทัศนคติที่ดีต่อการศึกษาที่เชื่อว่าการศึกษาทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยเรื่องการพัฒนาหมู่บ้าน ปัจจัยเรื่องทุนการศึกษาโควตาต่าง ๆ และด้านนโยบายเรียนฟรี 15 ปีของรัฐบาลที่ผลักดันและส่งเสริมให้มีการตัดสินใจเข้ารับการศึกษา
ปัญหาและอุปสรรคหลัก ได้แก่ ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ ปัญหาด้านการทำงานไม่ตรงกับศาสตร์ที่เรียนจบออกมา และปัญหาด้านการเรียนรู้ที่มีจำนวนครูไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนและมีช่วงเวลาเรียนไม่เต็มที่
ข้อเสนอแนะการศึกษาต่อชุมชน ได้แก่ ควรเป็นการศึกษาที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น เช่น การเรียนด้านสายอาชีพ การเรียนด้านการท่องเที่ยวและภาษา การเรียนครูในสาขาที่ตลาดแรงงานต้องการ และบางส่วนมีความคิดเห็นว่า ควรเรียนแค่ตามที่รัฐบาลกำหนดเพื่อกลับมาทำงานชุมชน
References
ปุณฑิกา รามพุดซา. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา