วิถีชีวิตและความเชื่อทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามชุมชนวัดพระคริสตประจักษ์ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ภูวมินทร์ วาดเขียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม, วัดพระคริสตประจักษ์, อำเภอบางไทร

บทคัดย่อ

ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามวัดพระคริสตประจักษ์ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประวัติศาสตร์ของชุมชนที่ยาวนานโดยชุมชนได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายทางการเมืองการปกครองของรัฐไทยอย่างต่อเนื่องหลายยุคสมัยซึ่งนโยบายดังกล่าวได้ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษต่อชุมชน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน รัฐไทยและคนไทยโดยทั่วไปได้ให้การยอมรับสถานภาพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามวัดพระคริสตประจักษ์ว่าเป็น “พลเมืองไทย” มีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตโดยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อทางศาสนาของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
วัดพระคริสตประจักษ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกโดยมีวัดพระคริสตประจักษ์เป็นศูนย์กลางของชุมชนและเป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของคริสตชนคาทอลิกชาวชุมชน อย่างไรก็ตาม คริสตชน-คาทอลิกชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามวัดพระคริสตประจักษ์ได้ผ่อนคลายความเคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์ลงหลายเรื่องตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แต่ยังคงปฏิบัติตามหลักคำสอนของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกโดยนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น คริสตชนคาทอลิกชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามวัดพระคริสตประจักษ์ยังได้รักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไว้ได้อย่างเด่นชัดในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาบางพิธี กล่าวคือ ในช่วงเทศกาลมหาพรตและการสมโภชปัสกา มีการใช้ภาษาเวียดนามสวดภาวนา และในพิธีศพของคริสตชนคาทอลิกที่มีการใช้หีบศพแบบเวียดนามและภาษาเวียดนามในการประกอบพิธี

References

กรมโฆษณาการ. (2484). ประมวลข่าวราชการในกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชศุภผล. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเล็กราชสีหยศ (ต.จ.) ณ เมรุวัดสระเกศ วันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2484).

กระทรวงมหาดไทย, กรมการปกครอง. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ.2560. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561 จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showVillageData.php?rcode=14040416&statType=1&year=60.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2551). สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาครอบครัวญวน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์แจ่ม สุดสวาสดิ์. (2550). ความเปลี่ยนแปลงและความสืบเนื่องในวิถีชีวิตของชุมชนชาวไทยคริสต์เชื้อสายเวียดนามในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.2482 – 2504. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิม กิจมงคล. (ม.ป.ป.). เดินทางกางเขน (ภาษาเวียดนาม). ม.ป.ท.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และโชติสา ขาวสนิท. (2552). ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองของคาทอลิกในกระบวนการสร้างภาวะความทันสมัยของไทย. วารสารธรรมศาสตร์. 28(1), 41 – 66.

นิภาพร รัชตพัฒนากุล. สงครามมหาเอเชียบูรพากับการเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2561 จาก wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สงครามมหาเอเชียบูรพากับการเมืองไทย.

ประวัติวัดพระคริสตประจักษ์เกาะใหญ่. (2526). อุดมศานต์. 63(1), 12 – 17.

ผุสดี จันทวิมล. (2541). เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลงวันที่ 27 สิงหาคม ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาโทลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย. ราชกิจจานุเบกษา 40 (9 ธันวาคม 2466): 156 – 161.

พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาโทลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย. ราชกิจจานุเบกษา 26 (29 สิงหาคม 2452): 17 – 32.

พุฒิพงศ์ พุฒตาลศรี. (2552). การเผยแผ่คริสต์ศาสนาในสมัยพระสังฆราชเรอเน มารี ยอแซฟ แปร์รอส พ.ศ.2452 – 2490. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมทินา อุธารส. (2557). พัฒนาการทุนทางสังคมของคาทอลิกในสังคมไทย. วารสาร วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 22(39), 147 – 166.

โรงเรียนไตรราชวิทยา. (2561). แบบสำรวจสถิติ ปีการศึกษา 2561. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

โรงเรียนไตรราชวิทยา. ประวัติโรงเรียนไตรราชวิทยา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2561 จาก http://trv.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=69&Itemid=46.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 กษ.3.1/7 กล่อง 1 เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงเกษตราธิการ (พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระยาสุรศักดิ์มนตรี, 21 พฤศจิกายน ร.ศ.111 [พ.ศ.2435]).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6 กษ.10/4 กล่อง 1 เอกสารรัชกาลที่ 6 กระทรวงเกษตราธิการ (พระหัตถเลขากรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 25 กรกฎาคม พ.ศ.2456).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องขอความช่วยเหลือจากคณะกรมการอำเภอบางไทร กล่องที่ 000045 แฟ้มที่ 3. ซองที่ 26. (12 ตุลาคม พ.ศ.2483) (2483ก).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องขอให้ระงับการย้ายผู้สอนศาสนาโรมันคาทอลิกวัดพระยาสามองค์ กล่องที่ 000045 แฟ้มที่ 3 ซองที่ 27. (14 ตุลาคม พ.ศ.2483) (2483ข).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องขอให้ระงับการย้ายบาทหลวง กล่องที่ 000045 แฟ้มที่ 3 ซองที่ 28. (21 ตุลาคม พ.ศ.2483) (2483ค).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องจดหมายจากสัตบุรุษวัดโรมันเกาะใหญ่ กล่องที่ 000045 แฟ้มที่ 3 ซองที่ 31. (11 พฤศจิกายน พ.ศ.2483) (2483ง).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องจดหมายนายเจริญ สุขสุศิลป์ กล่องที่ 000045 แฟ้มที่ 3 ซองที่ 45. (13 เมษายน พ.ศ.2485) (2485ก).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องจดหมายครูไง้ กล่องที่ 000045 แฟ้มที่ 3 ซองที่ 47. (26 เมษายน พ.ศ.2485) (2485ข).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องรายงานประจำปีโรงเรียนราษฎร์ กล่องที่ 000083 แฟ้มที่ 4 ซองที่ 11. (1 เมษายน พ.ศ.2471).

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เอกสารพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส พระสังฆราชแห่งโซอารา เรื่องรายงานประจำปีโรงเรียนราษฎร์ กล่องที่ 000083 แฟ้มที่ 4 ซองที่ 21. (1 เมษายน พ.ศ.2475).

สำนักงานเกษตรอำเภอบางไทร. ข้อมูลระดับตำบล. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561 จาก http://bangsai.ayutthaya.doae.go.th/tambon/tambon_18.htm.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนบ้านญวน. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561 จาก http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/bkk/bkk362.html.

สำนักงานสารสาสน์. (2510). ประวัติพระศาสนจักรสากลและพระศาสนจักรในประเทศไทย. พระนคร: โรงพิมพ์บริษัท ไทยหัตถการพิมพ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ตรา. ประวัติและตราสัญลักษณ์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561 จาก http://oldweb.maitra.go.th/default.php?modules=fckeditor&fck_id=4&view_id=55&orderby=1).

องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ตรา. (2559). สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานสำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (2561). ประกาศเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 2 ประชากรของพระเจ้า. มาตรา 515, 528 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 529, 536. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2561 จาก http://www.catholic.or.th/archive/laws/lawch3/lawch034.html.

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 3 หน้าที่การสอนของพระศาสนจักร. มาตรา 800 วรรคหนึ่ง. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2561 จาก http://www.catholic.or.th/archive/laws/lawch14/lawch07.html.

Poole, Peter A. (1970). The Vietnamese in Thailand: A Historical Perspective. Ithaca: Cornell University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26