“เมืองเชียงคาน” ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไป กับการสร้างความหมายให้กับพื้นที่เมือง
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์เมืองเชียงคาน, พื้นที่ย่านการท่องเที่ยว, การสร้างความหมาย และพื้นที่ในฐานะผู้กระทำการบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับ ภูมิทัศน์ของเมืองเชียงคานที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาในพื้นที่ระหว่างถนนชายโขงและถนนศรีเชียงคาน ตั้งแต่ในช่วงที่แม่น้ำโขงยังคงความสำคัญในฐานะเส้นทางการค้าก่อนที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลาว เมื่อปี 2518 จนถึงปี 2560 (ในบริบทการเป็นเมืองท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา) การสร้างความหมายให้กับพื้นที่ซึ่งเป็นผลสำคัญที่ทำให้พื้นที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับผู้ที่เข้าไปมีความสัมพันธ์อยู่ในแต่ละบริบท ซึ่งความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของเมืองที่เกิดขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การสร้างความหมายที่ทำให้พื้นที่อยู่ในฐานะของตัวถูกหมาย และการที่พื้นที่กลับสู่การเป็นตัวหมาย โดยอยู่ในฐานะของผู้กระทำการนั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ และระหว่างผู้คนกับพื้นที่ได้ ทั้งยังทำให้เห็นถึงบริบทเฉพาะของเมืองในแต่ละช่วงเวลาด้วย เนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของเมืองเชียงคานที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณซอย 0 - ซอย 21 (ถนนชายโขงฝั่งล่าง) การสร้างความหมายให้กับพื้นที่โดยผู้คนกลุ่มต่าง ๆ และผลที่เกิดขึ้นจากการที่พื้นที่อยู่ในฐานะของผู้กระทำการ ที่มีบทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ ไปจนถึงการสร้างระเบียบแบบแผนให้กับผู้คนที่เข้าไปมีความสัมพันธ์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาสัญญะเพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ย่านการท่องเที่ยวของเมืองเชียงคาน
References
Boogaart, Thomas A. (2001). The Power of Place: From Semiotics to Ethnography. Middle States Geographer, 34:38-47.
Duncan, James S. and Duncan, Nancy G. (1998). Ideology and Bliss: Roland Barthes and the Secret Histories of Landscape, in Postmodernism Critical Concepts, pp. 45-66. Taylor, Victor E. and Winquist, Charles E. (editor). New York: Routledge.
Federico Bellentani. (2016). Landscape as text, in Concepts for Semiotics, pp. 76-87. University of Tartu Press.
Jaworski, Adam and Thurlow, Crispin. Introducing Semiotic Landscapes. Retrieved 16 August 2018 From https://www.academia.edu/9345007/Introducing_semiotic_landscapes.
J Flood. (2000). Defining Urban Areas in Thailand. THA/Urban Sector Study between the ADB and the Urban Development Coordination Division, NESDB Thailand, Working paper 2.
Sebeok, Thomas A. (2001). Signs: An Introduction to Semiotics, second edition. University of Toronto Press.
Tucker, Catherine M. (1999). Private Versus Common Property Forests: Forest Conditions and Tenure in a Honduran Community. Human Ecology, Vol. 27, No. 2.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542). วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ณัฏฐพล ตันมิ่ง. (2551). ประวัติเมืองเชียงคาน. เลย: ณัฏฐพล.
พรพนา ก๊วยเจริญ. (2546). ระบบสิทธิทรัพย์สินส่วนรวม: พลวัตการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด ในกรณีชุมชนลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง. ใน พลวัตสิทธิชุมชน: กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา, 255 - 295. ชลธิรา สัตยาวัฒนา (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน. (2557) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียงคานกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยขน์จากที่ดินและน้ำ .นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุลกากร, กรม. (2553). ด่านศุลกากรเชียงคาน. จุลสารศุลกากร. ปีที่ 18 ฉบับที่ 11, 14 – 15.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). “พื้นที่” ในทฤษฎีสังคมศาสตร์. วารสารทางวิชาการสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2), 65-101.
สุวารีย์ ศรีปูณะ. (2551). การพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวชายแดนลุ่มน้ำเหือง – โขง แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. ปีที่ 1 (ฉบับที่ 1) กันยายน – ตุลาคม, 16 – 26
ข้อมูลจากการเก็บความจากการเสวนาความรู้ สู่ชุมชน เรื่อง เสียง ภาษา การท่องเที่ยว ผู้คน และเชียงคานในภาวะการเปลี่ยนแปลง วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ลานวัฒนธรรม (หน้าวัดท่าคก) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา