การจัดการความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการนำไปพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ณวกษิดิศ พลพลากรณ์โสภณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • มยุรี รัตนเสริมพงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) ศึกษาการจัดการความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในการนำไปพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ได้แก่ ตัวแทนจากกลุ่มที่ 1 ระดับผู้บริหาร จำนวน 5 คน และตัวแทนจากกลุ่มที่ 2 ระดับปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนูตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการนำไปพัฒนาชุมชน มีขั้นตอนการคิดวิเคราะห์และวางแผนอย่างมีระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กรที่ได้จากแนวความคิดของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู องค์กรยังสามารถถอดองค์ความรู้ที่องค์กรมีอยู่ รวมถึงแสวงหาความรู้จากภายนอกองค์กรให้กับบุคลากรในองค์กรได้มีส่วนร่วมและมีกระบวนการเรียนรู้ระหว่างกัน ทำให้เกิดมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อใช้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนอย่างชัดเจนในแบบ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ซึ่งเป็นรูปแบบที่เรียบง่ายที่เรียกว่า “วิถีชาวบ้าน” และ “วิถีชุมชน” 2) การจัดการความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการนำไปพัฒนาชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนูมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ (7) การเรียนรู้ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนูมีการจัดการความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่องค์กรจัดทำแผนพัฒนาชุมชนขึ้น ซึ่งเป็นการจัดการความรู้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบจนเกิดการเรียนรู้ที่ทั่วถึงของบุคลากรภายในองค์กร และนำไปใช้ปฏิบัติจนสามารถพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนต้นแบบ “โก่งธนูโมเดล”

References

กัญญารัตน์ พูลพิพัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

กิตติ์ธัญญา บุณยกุลศิโรตม์. (2554). เว็บไซต์การจัดการความรู้เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จำรัส โคตะยันต์ และวิไลวรรณ สมโสภณ. (2555). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(3), 63-73.

เจษฎา นกน้อย และคณะ. (2552). นานาทรรศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณภัทร วรเจริญศรี. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในบริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพรัตน์ ดวงแก้วเรือน, ธงชัย ภูวนาถวิจิตร และชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). การจัดการความรู้ของชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงในที่ดินและลดพฤติกรรมทำลายสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion, 5(2), 45-70.

นันทรัตน์ เจริญกุล. (2552). การจัดการความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์, 21(1), 12-26.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2557). การจัดการความรู้ (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บรรหาญ เนาวรัตน์. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์, 30 มีนาคม 2564.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

ไพบูลย์ กลิ่นกระต่าย. กำนันตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์, 15 มีนาคม 2564.

วัชระพงศ์ สมพรชัย. (2556). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: การพัฒนาระบบการศึกษา ของไทย. สืบค้น 20 ตุลาคม 2564, จาก http://www.gotoknow.org/posts/140508

วิทูลย์ แก้วสุวรรณ และคณะ. (2559). การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างการเมืองการปกครอง. วารสารการวิจัย, 6(2), 55-66.

ศุภชัย เกิดเจริญพร. (2560). การจัดการความรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงด้านการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาของศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ของชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2), 241-258.

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: A systems approach to quantum improvement and grobal success. New York: McGraw-Hill.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2012). Towards a sufficiency economy: A new ethical paradigm for sustainability. Retrieved January 25, 2022, from http://www.unesco.org/new/en/social-and-human-sciences/themes/anticipation-and-foresight/unesco-future-lectures/towards-a-sufficiency-economy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30