แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน บริษัทในเครือ เภตรา กรุ๊ป จำกัด

ผู้แต่ง

  • ภรณ์ทิพย์ ตระกระจ่าง สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เอกสิทธิ์ สนามทอง สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน, พนักงาน, บริษัทในเครือเภตรากรุ๊ป จำกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของ พนักงาน บริษัทในเครือ เภตรา กรุ๊ป จำกัด (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของ พนักงาน บริษัทในเครือ เภตรา กรุ๊ป จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน บริษัทในเครือ เภตรา กรุ๊ป จำกัด กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานบริษัทในเครือเภตรา กรุ๊ป จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของ พนักงาน บริษัทในเครือ เภตรา กรุ๊ป จำกัด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติค่าที่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ความแตกต่าง รายคู่ (Post Hoc test) แบบวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการวิจัยพบว่า 1. พนักงานมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเครือ เภตรา กรุ๊ป จ ากัด พบว่าพนักงานที่มีอายุ และตำแหน่งงานการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อ คุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมและทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มี ประสบการณ์ทำงาน, ระดับการศึกษาและอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ คุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05  3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ของพนักงานบริษัทใน เครือ เภตรา กรุ๊ป จำกัด โดยจัดให้มีการเพิ่มแผนและนโยบายการบริหารงานของบริษัท ตลอดจนต้องดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

References

กานต์พิชชา ยอดน้ำคำ. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานการกีฬาแห่ง ประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

คคนางค์ สนธิเปล่งศรี. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทร์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอดยูเคชั่น.

ผกาวรรณ เขียวฉอ้อน. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานและคุณภาพการบริการของ พนักงานโรงแรมในเขต อำเภอเมืองเชียงใหม่. ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิรัช ขาวคม. (2549). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษา บริษัท วี.เค. ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. ปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มยุรี แก้วประภา (2552) คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ยุทธนา พีระยุทธ. (2551). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับ ปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จ ากัด (มหาชน). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้า.

สมประสงค์ บุญยะชัย. (2554). แนวคิดชีวิตที่สมประสงค์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ลักษมีรุ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) [ระบบ ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395. (1 พฤศจิกายน 2558).

โสรยา จีนะพันธุ์. (2552). การเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังต่อปัจจัย จูงใจและคุณภาพชีวิตการทำงาน ระหว่างบริกรที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาและบริกรที่ปฏิบัติงานบางเวลาในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ หาญละศิริ (2549). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท ชาร์ป แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุภาพร พงษ์ไพโรจน์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ ปฏิบัติงานกะในบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26