สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธ

ผู้แต่ง

  • กาวี ศรีรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

สุนทรียศาสตร์, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

แม้ว่าพระพุทธศาสนามีหลักค าสอนเกี่ยวกับความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็น อนัตตา แต่ในพระพุทธศาสนาก็มีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความงามอยู่ด้วย และยังมีแนวคิด ทางสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติและความงามของศิลปกรรมแต่ละอย่างอีกด้วย ใน ยุคต้นของพระพุทธศาสนา แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์สามารถเห็นได้จากทัศนคติ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของพระภิกษุและพระภิกษุณี ดังที่ปรากฏอยู่ในเถร คาถาและเถรีคาถา ในพระพุทธศาสนา ธรรมชาติและความงามของธรรมชาติถูกยอมรับ ในฐานะเป็นเครื่องช่วยเหลือความพากเพียรทางจิตใจมากกว่าที่จะถือว่าเป็นสิ่งกีดขวาง จิตใจ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องความทุกข์ก็จริง แต่ว่าค าสอนของพระองค์ได้เป็น แรงบันดาลใจให้เกิดศิลปกรรมระดับโลก พระพุทธศาสนาถือว่า จิตดั้งเดิมมีธรรมชาติผ่องใส แต่ว่าปัจจัยภายนอกทำให้จิตเศร้าหมอง ความงามก็เฉกเช่นเดียวกัน โดยตัวมันเอง เป็นสิ่งบริสุทธิ์ แต่เป็นเพราะความยึดติดในลักษณะบางอย่างของมันเท่านั้น โดยเฉพาะ ลักษณะด้านกามคุณที่ทำให้ความงามกลายเป็นอุปสรรคต่อความเจริญงอกงามทางด้าน จิตใจ หากเราปรับจิตใจให้เข้ากับความงามอย่างถูกต้องเหมาะสม เราก็จะได้รับประโยชน์ จากการชื่นชมความงาม

References

B.G. Gokhale. (1994). New Light on Early Buddhism. Bombay: Popular Prakashan.

Theragāthā. Eds. K.R. Norman & L. Alsdorf. (1966). London: Pāli Text Society.

A. Adikari. (1991). Sambhasha. Sri Lanka: Srimaalee Offset Printers.

Samyutta Nikāya II. tr. by Mrs. Rhys Davids & F.L. Woodward. (1884- 1974). London: Pāli Text Society.

Vinaya Pitaka (Mahāvagga and Cullavagga) V. tr. by I. B. Homer. (1993). London: Pāli Text Society.

Digha Nikāya II. tr. by Mr. & Mrs. Rhys Davids, J.E. Carpenter. (1890- 1911). London: Pāli Text Society.

Anguttara Nikāya I. tr. by F.L. Woodward & E. M. Hare. (1885-1910). London: Pāli Text Society.

Dharmachari Subhuti. (1983). Buddhism for Today. Great Britain: Element Books.

Jatava. (2007). Buddhism in Modern World. Jaipur: ABC Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26