การพัฒนารูปแบบ PELAC Model ในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา วิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ งามเลิศ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

รูปแบบ PELAC Model, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา, ฟิสิกส์ 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ PELAC Model ในการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา วิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรูปแบบ การเรียนการสอน PELAC Model เทียบกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีแบบแผน การวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างและทดสอบก่อนและหลังการทดลอง

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ PELAC Model มีความสอดคล้องกันในทุก องค์ประกอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีนักเรียนจำนวน 26 คน จากนักเรียน ทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

References

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประมวล ศิริผันแก้ว. (2541). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์ กลางเรียนรู้. นิตยสาร สสวท. 26(103) : 8-11

สมศักดิ์ โสภณพินิจ. (2543). ยุทธวิธีการแก้ปัญหาเชิงฟิสิกส์กับการสอน. วารสาร การสอนฟิสิกส์ : 41-44

สุวิทย์ มูลคำ; และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อัศวรัฐ นามะกันคำ. (2550). การเปรียบเทียบความเข้าใจเชิงแนวคิดเรื่องวงจรไฟฟ้า กระแสตรง. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การสอนฟิสิกส์). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย.

Redish, E.F. (2003). ImpIication of Cognitive Studies for Teaching Physics. American Journal of Physics. 62(9) : 135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26