การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤต โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การปรับตัวทางเศรษฐกิจ, การท่องเที่ยว, สภาวะวิกฤตโควิด 19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวทางเศรษฐกิจด้าน การท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ จากข้อมูลเอกสารทุติยภูมิและใช้การวิเคราะห์ เนื้อหาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่าการปรับตัวด้านการท่องเที่ยวของไทย ท่ามกลางสภาวะโรคระบาดนี้ ควรมีการปรับตัวใน 5 ด้าน คือ 1) การปรับตัวด้านการ เพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชน ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดความเชื่อมั่น ต่อนักท่องเที่ยวมากขึ้นพร้อมทั้งพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ ชุมชน 2) การปรับตัวด้านการฟื้นตัวเศรษฐกิจในการท่องเที่ยว ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารที่ทันเวลา เชื่อถือได้ ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือกับคู่เจรจาและหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมาตรการสนับสนุนและบรรเทาทุกข์ในภาคการ ท่องเที่ยว เพื่อรับมือกับความท้าทายในสถานการณ์นี้ 3) การปรับตัวด้านธุรกิจท่องเที่ยว ใช้หลักการ 9Ps เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวไทย 4) การปรับตัวด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่โดยใช้หลักคิดเหล่านี้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้แก่ โลกาภิวัตน์ การท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม ชีวิตยุคดิจิทัล ความ ปลอดภัยระหว่างการเดินทาง สายการบินราคาประหยัด นโยบายทางการเมือง และ สังคมผู้สูงอายุ และ 5) การปรับตัวด้านการรับมือและสื่อสารภาวะวิกฤติ ส่งผลต่อธุรกิจ ท่องเที่ยวที่ต้องมีการปรับตัว มีการพัฒนาช่องทางระบบการสื่อสารด้านความเสี่ยงการ ควบคุมโรคและสร้างความรู้ให้ประชาชนให้รู้สึกปลอดภัยในการท่องเที่ยว

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). “ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนสมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19),” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mots.go.th/index.php สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). “ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว สมัยใหม่,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ddc.moph.go.th สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

กอบสิทธิ์ ศิลปชัย. (2563). แนวโน้มเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย. คมน์ พันธรักษ์. (2563). การบริหารธุรกิจ SMEs ในช่วงวิกฤต ของโรคระบาด COVID-19. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ. (2563) "อพท.พลิกวิกฤติโควิดเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชน,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จ า ก : https://www.thansettakij.com/content/business/427137 สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

ธนาคารกรุงไทย. (2563). แนวโน้มธุรกิจท่องเที่ยวในปี 2020. กรุงเทพฯ : ธนาคารกรุงไทย. นครินทร์ วนกิจไพบูลย์. (2563) “ท่องเที่ยวไทย2562 ยังไหวไหม ธุรกิจไทยควรปรับตัว อย่างไร” https://youtu.be/sTzVlA6ImMU สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.

บอสแม็กกาซีน. (2563) “ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563”วารสารบอสแม็กกาซีน. ฉบับที่ 1 : 5.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563, เมษายน). “ท่องเที่ยวดับทุกเซ็กเตอร์ ทยอยปิดตัว-ปรับโมเดล,”. วารสารประชาชาติธุรกิจ, 42 (5243) : 17.

ปราน สุวรรณรัตน์. (2563). “ประเมินสถานการณ์ ธุรกิจยุคหลัง COVID-19,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.cioworldmagazine.com/businesssituation-post-covid19/ สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2563 : 93). ประเทศไทยกับการรับมือ และสื่อสารภาวะวิกฤติจาก ผลกระทบของไวรัสสายพันธุ์ใหม่. กรุงเทพฯ : EXPERT COMMUNICATIONS.

พรไพลิน จุลพันธ์. (2563). “โรงแรมแปลงร่างรับมือโควิด เปิดห้องรับผู้ป่วยกักตัว-แพทย์,”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/874739 สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

โพสต์ทูเดย์. (2563). “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ไทย) จากนี้ไปจะเป็นอย่างไร?” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://posttoday.com/finance-stock/columnist/621408 สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

มณฑกานติ ชุบชูวงศ์. (2563). “แนวคิดการทำงานช่วงวิกฤตโควิด-19 ของธุรกิจ ท่องเที่ยว,” https://www.naewna.com/likesara/482712 สืบค้นวันที่ 22 พฤษภาคม 2563.

มณีรัตน์ จันทร์เคน. (2563). “ธุรกิจโรงแรมทำอะไรได้บ้าง ช่วงวิกฤตโควิด-19,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.phoenixproperty.co.th/blogs/news/3270 สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

มติชน จำกัด (มหาชน). (2563). “โควิดทรานส์ฟอร์ม เที่ยวไทย ธุรกิจ (ต้อง) พร้อม เปลี่ยนแปลง,”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-454147 สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอก ราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). (ฉบับที่ 2) หน้า 16 เล่ม 137 ตอนพิเศษ 93.

สยามรัฐ. (2563). “สร้างความเชื่อมั่นท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19 กับอาเซียนผ่านการ ประชุมทางไกล,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://siamrath.co.th/ สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2563). “EEC จ้าง แรงงานภาคท่องเที่ยว 300 คน ฝ่าวิกฤต COVID-19” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก : https://siamrath.co.th/ สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). 2563 ; (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดย องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย.

อุทิศ ทาหอม. (2563). “พลังชุมชน สู้ภัย 'โควิด-19, ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.isoc5.net/trendings/view/ สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

กรมสุขภาพจิต. (2563). แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). “ททท.วางแผนรองรับนักท่องเที่ยว หลังการระบาด COVID-19,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://news.thaipbs.or.th/content/292423 สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26