การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พิมพาพร เชื้อบางแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive  Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้การประเมิน PDCA ศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสำเร็จของการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson's Product Moment Correlation Coefficient

ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพรวมของค่าเฉลี่ยกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า ด้านการวางแผน  ด้านการปฏิบัติตามแผน  ด้านการตรวจสอบ และด้านการปรับปรุงการดำเนินการ อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ3.88 คะแนน  3.91 คะแนน  3.80 คะแนน และ3.68 คะแนน ตามลำดับ  (2)ระดับความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 3.57 คะแนน (=3.57 คะแนนS.D.= 0.65)  (3)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านการวางแผน  ด้านการปฏิบัติตามแผน  ด้านการตรวจสอบ และด้านการปรับปรุงการดำเนินการ มีความสัมพันธ์กับระดับความสำเร็จของกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value <0.01)

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ในการพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น เมื่อหน่วยงานมีการวางแผนยุทธศาสตร์ และนำแผนไปสู่การปฏิบัติแล้ว สิ่งสำคัญหน่วยงานต้องติดตามกำกับ ประเมินผลการดำเนินงาน ความสำเร็จของแผนงาน/โครงการรวมทั้งการติดตามประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำผลติดตามกำกับ ประเมินผลการดำเนินงานไปสู่การปรับปรุงแก้ไข วางแผน พัฒนา และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สามารถขับเคลื่อนได้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของหน่วยงานตามที่กำหนดไว้

References

กรรณิการ์ พะชำนิ และสุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2556). การประเมินกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลท่ากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(2), 55-71.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

พสุ เดชะรินทร์. (2553). การวางแผนกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร ศรีแก้ว และสุดารัตน์ ลิจุติภูมิ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์ สุขภาพจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 14(2), 3-12.

สันติ ทวยมีฤทธิ์. (2563). การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัด นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม, 14(33), 52-70.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้นชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968). Motivation and organization climate. Boston: Division of Research, Graduate School of Business Administration, Harvard University.

Pearce, J. A., & Robinson, R. B. (2000). Strategic management. New Jersey: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เชื้อบางแก้ว พ. (2022). การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 10(1), 81–99. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/258682