แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.6คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพการศึกษา, การประกันคุณภาพภายใน, โรงเรียนประถม ศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านลำแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 23 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านลำแดงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการดำเนินงานด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุดและด้านการรายงานผลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สำหรับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน มี 5 ด้าน ได้แก่ (1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (2) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงการ และกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกัน (3) การดำเนินการตามแผนที่กำหนด เช่น การกำหนดโครงการลงไปในแผนปฏิบัติการประจำปี (4) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เช่น การสรุปข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานประจำปี และ (5) การรายงานผล เช่น การติดตามผลข้อมูลย้อนกลับเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
References
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561). ราชกิจจานุเบกษา, 135(ตอนที่ 11 ก), 3-5.
ฐานะ สายวารีรัตน์. (2553). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
น้อยนัดดา มีศรี. (2559). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพ ภายนอก. (2548). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
บุตรศรี บุษยาตรัจ. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งขาม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: โรงเรียนบ้านทุ่งขาม.
บุญศิลป์ อาษาสนา. (2550). การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการโรงเรียนบ้านคำแมด ตำบลคำแมด กิ่งอำเภอซาสูง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545). ปทุมธานี: สกายบุ๊ค.
รัตนา แก้วจันทร์เพชร. (2558). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตาก เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชา การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. โรงเรียนบ้านลำแดง. (2560). รายงานผลการการประเมินตนเองภายของสถานศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: ผู้แต่ง.
วิชุดา แก้ววรรณดี. (2554). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกัน คุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สยาม สุ่มงาม. (2541). กระบวนการดำเนินงานปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. โรงเรียนบ้านลำแดง. (2561). รายงานผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 และผลการประเมินคุณภาพภายนอก. พระนครศรีอยุธยา: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุปราณี พรหมดีสาร. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ตามทัศนะของผู้อำนวยการกองการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.
หทัยรัตน์ บัวขจร. (2557). ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา