ความรู้ด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดเตย ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ขวัญฤทัย เวณุโกเศศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อุสา สุทธิสาคร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.4

คำสำคัญ:

ความรู้, จิตรกรรมฝาผนัง, วัดเตย, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารายละเอียดและประวัติความเป็นมาของจิตรกรรมฝาผนังวัดเตย ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  2) เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดเตย ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  อย่างเป็นระบบในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รู้ในชุมชนจำนวน 4 คน และผู้สร้างงานจิตรกรรม จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน พ.ศ. 2564 ผลการวิจัยพบว่า ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นชุมชนมอญที่อพยพมาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย และวัดเตยถือเป็นวัดหนึ่งที่มีการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังที่มีความโดดเด่นโดยฝีมือของอาจารย์เทพเนรมิต จิตรกรรมไทย ช่างชั้นครูจากกรมศิลปากร งานจิตรกรรมภายในอุโบสถเป็นแบบจิตรกรรมไทยประเพณี มีการผสมผสานระหว่างไทยกับมอญ สีของงานจิตรกรรมค่อนข้างสดใส จัดจ้าน ไม่ซีด ในภาพวาดแสดงเรื่องราวพุทธประวัติตั้งแต่ท้าวสักกะเทวราชกราบทูลเชิญท้าวสันดุสิตเทวราชจุติจากสวรรค์เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจนถึงปรินิพพานและชาดกสิบชาติ จุดเด่นที่สะท้อนความเป็นมอญในอุโบสถ คือ มีการเขียนบทสวดนะโมตัสสะจนถึงธัมมจักกัปวัตนสูตรเป็นอักขระมอญเวียนรอบอุโบสถพอดี และมีอัตลักษณ์ที่สําคัญทางด้านศิลปกรรมมอญคือการนําคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่เป็นนามธรรมมาถ่ายทอดเป็นงานศิลปกรรม

References

คนึง เพชรสมัย. (2541). การออกแบบหนังสือพิมพ์และนิตยสาร. เชียงใหม่: ครองช่างการพิมพ์.

ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ. (2560). นวัตกรรม แนวความคิด และวิธีการการจำลองภาพเสมือนจริงที่มีมุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้น 14 เมษายน 2564, จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3532

นันทา วิทวุฒิศักดิ์. (2542). หนังสือและการพิมพ์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

บุณยกร วชิระเธียรชัย. (2552). จิตรกรรมฝาผนังตอนถวายพระเพลิงพุทธสรีระ. ใน เกรียงไกร เกิดศิริ (บรรณาธิการ), งานพระเมรุ ศิลปะสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง (หน้า 308-312). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญโญ ภิกขุ. (2545). วัดตรีทศเทพวรวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุรวัฒน์.

แผน เอกจิตร. (2562). การพัฒนาคู่มือการชมงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 178-192.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2554). สืบค้น 14 เมษายน 2564, จาก http: www.dictionary.orst.go.th

มนต์ผกา วงษา. (2543). การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังต่างยุคสมัย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วารดา พุ่มผกา. (2560). ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร. (2557). ศิลปกรรมของชาวมอญสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลทางศาสนาและความเชื่อทางวัฒนธรรมมอญ. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-01

How to Cite

เวณุโกเศศ ข., & สุทธิสาคร อ. (2021). ความรู้ด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดเตย ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 9(2), 83–102. https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.4