แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.3คำสำคัญ:
การบริหารงบประมาณ, สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับในการปฏิบัติงานด้านงบประมาณของสถานศึกษา และ 2) สร้างแนวทางในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณ จำนวน 116 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณมีการปฏิบัติงานด้านบริหารงานงบประมาณโดยรวมและรายด้านในระดับมาก โดยมีแนวทางในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาแบ่งเป็น 7 ด้าน 22 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ มี 4 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์กลยุทธ์ การแต่งตั้งคณะกรรมการ การทบทวนภารกิจ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) ด้านการจัดสรรงบประมาณ มี 4 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบวงเงินงบประมาณ การตรวจสอบเงินนอกงบประมาณ การวิเคราะห์กิจกรรม และการจัดลำดับความสำคัญและกำหนดงบประมาณ 3) ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผล มี 2 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามผลและนิเทศ และการสร้างเครื่องมือประเมินกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 4) ด้านการระดมทรัพยากรและ
การลงทุนเพื่อการศึกษา มี 4 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำทะเบียนข้อมูลหรือแนวปฏิบัติในการจัดหารายได้ การวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรที่มีส่วนได้ส่วนเสียการยกย่องเชิดชูเกียรติ และการรายงานผล 5) ด้านการบริหารการเงิน มี 3 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการบริหารการเงินและควบคุมงบประมาณ การอบรม ประชุมชี้แจงและส่งเสริมศักยภาพแก่บุคลากร และการวางแผนรับเงินไว้เบิกเหลื่อมปี 6) ด้านการบริหารบัญชี มี 3 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกและสรุปบัญชีประจำวัน การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน และการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินและทรัพย์สิน และ 7) ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ มี 2 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำระเบียบการใช้สินทรัพย์และการจัดหาพัสดุ
References
กรมบัญชีกลาง. (2544). การคำนวณค่าเสื่อมราคามูลค่าทรัพย์สิน. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก http://www.kumpawahealth.com/img/titleswb/913.doc
กรมบัญชีกลาง. (2562). แนวทางการควบคุมภายในด้านการรับเงิน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
เกริกฤทธิ์ พ่วงสมจิตร. (2555). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ฐิรกานต์ กองคา. (2556). การดำเนินการบริหารงบประมาณสถานศึกษาในเครือข่ายสายเหนือสัมพันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ณัฐกฤษ จันทร์คณา. (2555). การบริหารงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทาง การเงิน 7 ด้านของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), 204-218.
ปาริตา ศุภการกำจร. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 3(2), 38-53.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136(ตอนพิเศษ 120 ง), 9-29.
สำนักงบประมาณ. (2547). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานงบประมาณ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. (2560). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. (2562). ข้อมูลสารสนเทศปีการศึกษา 2562. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547ก). การจัดทำงบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547ข). แนวทางการจัดทำรายละเอียดคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุพจน์ นันทะเทศ. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 225-241.
สุรวุฒิ ตั้งดี. (2558). การศึกษาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Geraldo, E. F. (1999). An evaluation of the effect of agency conditions on the implementation of Florida’s performance-based program budgeting. Doctoral Dissertation, The Florida State University.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Poisel, M. A. (1998). Evolution of performance-based budgeting in Florida community college system. Doctoral Dissertation, The Florida State University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา