การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศของหมู่บ้านเทโพ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เอนก รักเงิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • กิตติพงษ์ เดชโอภาส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อดิศร มีศิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ไพโรจน์ โปษณกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศของหมู่บ้านเทโพ ตำบล สามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของการจัดการท่องเที่ยวเกษตรนิเวศชุมชน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จต่อ การท่องเที่ยวเกษตรนิเวศชุมชนบ้านเทโพ ตำบล สามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่วิจัย บ้านเทโพ หมู่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตและสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกเป็นหลัก

ผลการศึกษาพบว่า การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศของหมู่บ้านเทโพ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเกษตรนิเวศชุมชนบ้านเทโพ เป็นการนำชุมชนเป็นจุดศูนย์การของการท่องเที่ยว โดยให้นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาได้แวะชม ดอกโสน และสัมผัสวิถีชีวิตคนเทโพ 2) ประวัติความเป็นมาของการจัดการท่องเที่ยว เกษตรนิเวศชุมชนบ้านเทโพ โดยมีจุดเริ่มต้นจากความคิดริเริ่มของผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 และได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเกษตรนิเวศชุมชนบ้านเทโพที่สำคัญ คือ ผู้นำชุมชน สภาพ พื้นที่ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและงบประมาณจากภาครัฐหรือส่วนอื่นๆที่เข้ามาสู่ ชุมชน

References

ไกรวุฒิ หีบแก้ว. (2552). การศึกษาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ธุรกิจการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณัฐพล รื่นถวิล. (2563) บ้านเทโพ หมู่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. ผู้ใหญ่บ้าน. สัมภาษณ์

วัฒนา มโนรัตน์. (2552). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรณีศึกษาชุมชนบ้านผีมด อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

เสาวรีย์ ตะโพนทอง กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์ สุรศักย์ คู่ควรรัตนชัย. (2547). การศึกษา แบบจำลองการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อประโยชน์สูงสุดของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่ำ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัด อ่างทอง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42, หน้า 463-474.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30