กฎหมายฝิ่น : เครื่องมือของรัฐในการควบคุม การบริโภคฝิ่นระหว่างพุทธศักราช 2433 ถึง 2501

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ แก้วไทรฮุน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ธนพล สุขประสาน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • เชาวลิต สมพงษ์เจริญ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

เครื่องมือของรัฐ, กฎหมายฝิ่น, การบริโภคฝิ่น

บทคัดย่อ

สยามเข้ามาควบคุมการบริโภคฝิ่นโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือระหว่าง พุทธศักราช 2433-2501 โดยการประกาศใช้กฎหมายฝิ่นตามช่วงลำดับเวลาอย่างมีกลไก ทางกฎหมายเพื่อควบคุมประพฤติกรรมของผู้เสพ และผู้ขาย เพื่อให้สภาพสังคมสยามที่ขายยาเสพติดได้อย่างถูกกฎหมายกลายเป็นสังคมที่ปราศจากยาเสพติดอย่างแท้จริง เจตนารมณ์ของกฎหมายฝิ่นที่สำคัญ คือ การควบคุมปริมาณการบริโภค และการซื้อขาย ฝิ่น จนทำให้ฝิ่นกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายโดยประกาศคณะปฏิวัติในที่สุด ผู้เขียนได้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงเอกสารผ่านการวิเคราะห์เอกสารเพื่อนำเสนอพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงการบริโภคฝิ่นโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือผ่านการนำเสนอ 5 หัวข้อ ประกอบด้วย 1) ฝิ่น : การควบคุมคนโดยใช้กฎหมาย 2) กฎหมายฝิ่น : เครื่องมือในการจัดระเบียบ สังคม 3) จุดสิ้นสุดของพัฒนาการกฎหมายฝิ่น 4) วิเคราะห์พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายฝิ่น 5) บทสรุป

องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาพบว่า รัฐใช้กลไกทางกฎหมายเป็นเครื่องมือใน การควบคุมการขายฝิ่น และการบริโภคฝิ่น โดยมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันสังคมและ สร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของรัฐกับผลประโยชน์ของประชาชนที่มิได้บริโภคฝิ่น รัฐสร้างกลไกการอนุญาตให้บริโภคฝิ่นอย่างเคร่งครัดเพื่อทำให้ฝิ่นผิดกฎหมายจนกระทั่ง ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดยกเลิกการบริโภคฝิ่น และบำบัดผู้ติดฝิ่นจนหมดไป อันถือว่าเป็นการสิ้นสุดของพัฒนาการของกฎหมายฝิ่นในสยาม องค์ความรู้นี้ที่ได้สามารถนำไปใช้ใน การศึกษาพัฒนาการของกฎหมายภาษีฝิ่นในช่วงศตวรรษแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ สยามได้ใช้ภาษีฝิ่นเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้ขายและผู้บริโภคฝิ่น อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเฉพาะเรื่องต่อไป

References

กฎหมายภาษีฝิ่นเพิ่มเติม. (109). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7 แผ่นที่ 2 หน้า 13 วันที่ 13 เมษายน ร.ศ.109.

กฎเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติสำหรับพระราชบัญญัติฝิ่น พุทธศักราช 2464. (2463). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37 หน้า371 วันที่ 9 มกราคม พุทธศักราช 2463

โครงการห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. (2563). ตำนานภาษีฝิ่น. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563 จาก https://vajirayana.org/ลัทธิธรรมเนียมต่าง-ๆ-ภาคที่-๑๖/ตำนานภาษีฝิ่น

จรัญ โฆษณานันท์. (2550). นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่16. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 39ก หน้า 27 วันที่ 5 เมษายน 2560.

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล. (2556). รอสโค พาวด์ (Roscor Pound). สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563 จาก https://chalermchai-nbtc.blogspot.com/2013/06/roscoepound27.html?fbclid=IwAR2r3RmWzBtehf2mEnJlL4kLLbDl82uJMS423QcDfT9PNjDusJTdXkQ_dNI

ประกาศแก้ไขข้อบังคับภาษีฝิ่น ร.ศ. 118 ข้อ 2. (2457). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 31 หน้า 497 วันที่ 17 มกราคม พุทธศักราช 2457.

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 [มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ให้เลิกการเสพ ฝิ่นและการจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย]. (2501). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 75 ตอนที่ 106 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2501.

ประกาศข้อบังคับภาษีฝิ่น รัตนโกสินทร์ศก 118. (117). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 15 แผ่นที่ 47 หน้า 500 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ร.ศ.117.

ประกาศห้ามไม่ให้นำยาอี๋ และยาผสมฝิ่น เข้ามาในพระราชอาณาจักร์สยาม รัตนโกสินทร์ ศก 120. (120). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 18 แผ่นที่ 48 หน้า 907 วันที่ 2 มีนาคม ร.ศ.120.

ประกาศหอรัษฎากรพิพัฒน์. (108). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 แผ่นที่ 51 หน้า 448 วันที่ 23 มีนาคม ร.ศ.108.

ประกาศให้ผู้ที่มียาอี๋มาบอกบัญชีที่เจ้าพนักงานกรมสุรายาฝิ่น ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ กรุงเทพ ฯ. (120). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม18 แผ่นที่ 49 หน้า 918 วันที่ 9 มีนาคม ร.ศ.120.

พระราชบัญญัติกำหนดโทษทำฝิ่นเถื่อน รัตนโกสินทร์ ศก 125. (125). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 23 แผ่นที่ 22 หน้า 537 วันที่ 26 สิงหาคม ร.ศ.125.

พระราชบัญญัติฝิ่น พระพุทธศักราช 2464. (2463). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37 หน้า 352 วันที่ 9 มกราคมพุทธศักราช 2463.

พระราชบัญญัติภาษีฝิ่น เพิ่มเติม พระพุทธศักราช 2461. (2460). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 34 หน้า 643 วันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2460.

วิชัย โปษยะจินดา. (2525). บทเรียนจากปัญหาฝิ่นในศตวรรษแรกของกรุงรัตนโกสินทร์. Chulalongkorn Medical Journal. 26(7), A-182-A219.

สายไหม จบกลศึก. (2563). การปราบฝิ่นในรัชกาลที่ 3. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563 จาก http://www.kingrama3.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=540025339

United Nations office on drugs and crime. (2020). The 1912 Hague International Opium Convention. Retrieved 5 October 2020 from https://www.unodc.org/unodc/en/frontpage/the-1912-hague-international-opium-convention.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

แก้วไทรฮุน ว., สุขประสาน ธ., & สมพงษ์เจริญ เ. (2020). กฎหมายฝิ่น : เครื่องมือของรัฐในการควบคุม การบริโภคฝิ่นระหว่างพุทธศักราช 2433 ถึง 2501. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 8(2), 59–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/256715