ป่าชุมชน : การจัดการภาครัฐสู่ประชาชน

ผู้แต่ง

  • อดิศร ภู่สาระ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ป่าชุมชน, การจัดการ, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีเป้าหมายเพื่ออธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการป่าไม้จาก การจัดการป่าไม้ภาครัฐสู่การจัดการภาคประชาชน โดยที่มนุษย์ใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรในพื้นที่ป่าไม้มาอย่างยาวนาน ผลผลิตจากป่ามีค่า มีราคา รัฐมองป่าไม่ใน รูปของสินค้าเพื่อหารายได้ จึงเข้ามาผูกขาดการจัดการป่าไม้เพื่อหารายได้ รวมทั้ง การจัดการป่าด้วยแนวคิด ป่าปลอดมนุษย์ ชุมชนและบุคคลที่เข้าหาประโยชน์ในพื้นที่ป่า ถูกมองว่าเป็นผู้ทำลายป่าไม้ ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต่างมีวิถีชีวิตมีวิธีการจัดการป่าไม้ของตนเอง ตามแนวทางเชิงนิเวศวัฒนธรรม ตามแนวทางความคิด ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของ ชุมชน ในขณะที่รัฐ ใช้กฎหมาย เพื่อจัดการ ป่าไม่ภายใต้ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และ บุคลากรเมื่อเทียบกับขนาดของพื้นที่ป่าไม้ จึงเกิดแนวคิดที่รัฐมอบอำนาจบางอย่างให้ ชุมชนสามารถเข้าไปจัดการป่าไม้ภายใต้ผลตอบแทนเป็นสิทธิชุมชนในการหาประโยชน์ จากทรัพยากรในพื้นที่ป่าในรูปแบบของป่าชุมชน

References

กฤษฎา บุญชัย. (2548). “บทสำรวจพื้นที่การเคลื่อนไหวของขบวนการป่าไม้ยุคหลัง สัมปทาน พ.ศ.2532-2547”. การเมืองป่าไม้ไทยยุคหลังสัมปทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ.

ชล บุนนาค. (2555). “แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จาก ต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย”. ชุดหนังสือการสำรวจองค์ความรู้ เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย. นนทบุรี: คณะทำงานเครือข่ายวิชาการเพื่อการ ปฏิรูป คณะสมัชชาปฏิรูป.

เทพ เชียงแก้ว. (2555). กระบวนการ บริหารองค์กรชุมชน กรณีศึกษากลุ่มป่าชุมชน ห้วยโป่ง ต าบลบ้านม่วง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ปรีดา วานิชภูมิ. (2557). “การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่ กรณีป่าชุมชนจังหวัด ระยอง”. .วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม- สิงหาคม 2557.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2548). “บทวิเคราะห์ว่าด้วยการสร้างแนวทางการอนุรักษ์ ธรรมชาติ. การเมือง ป่าไม้ไทย ยุคหลังสัมปทาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟื้นฟูชีวิต และธรรมชาติ.

ไพสิฐ พาณิชย์กุล. (2551). “การพัฒนาในเชิงสถาบันเพื่อการจัดการทรัพยากรในประเทศไทย”. ป่าชุมชน : กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่าง มีส่วนร่วมของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ดูมายเบส.

มงคล ด่านธานินทร์ และคณะ. (2536). ป่าชุมชนในประเทศไทย : แนวทางการพัฒนา เล่ม 3 ป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29