นาย กลวิธีการใช้ภาษาและการสื่อความหมายทางสังคมในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาและการสื่อความหมายทางสังคมในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน โดยวิธีดำเนินการวิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจากศึกษาเอกสารใบลาน อักษรธรรมอีสาน จำนวน 15 สำนวน และเอกสารตัวบทสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 4 ฉบับ มาเป็นข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการใช้ภาษาในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน มีกลวิธีทางภาษา 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) กลวิธีการใช้ภาษาด้านรูปแบบคำประพันธ์ 2) กลวิธีการใช้ภาษาด้านการนำเสนอเนื้อหา 3) กลวิธีการใช้ภาษาด้านการใช้คำประพันธ์ 4) กลวิธีการใช้ภาษาด้านสำนวนโวหาร 2. การสื่อความหมายทางสังคมในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน มีการสื่อความหมายทางสังคม 2 ลักษณะ คือ 1) การสื่อความหมายว่าด้วยแนวคิดด้านคติความเชื่อ ประกอบด้วย การสื่อความหมายว่าด้วยคติความเชื่อแบบดั้งเดิม และการสื่อความหมายว่าด้วยคติความเชื่อแบบพุทธศาสนา 2) การสื่อความหมายว่าด้วยแนวคิดด้านจิตสำนึกเชิงนิเวศ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
Article Details
References
กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ. (2558). สู่ขวัญ : คน สัตว์ พืช และสรรพสิ่ง ในเอกสารใบลานอีสาน. เอกสารวิชาการลำดับที่ 25. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
กิ่งแก้ว อัตถากร. (2514). วรรณกรรมจากบ้านใน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
ขวัญใจ บุญคุ้ม. (2559). วัจนลีลาและบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่ง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
จินดา ดวงใจ และบุญ ปริปุณโณ. (2495). ประชุมสูตรขวัญโบราณ. ขอนแก่น : คลังนานาธรรม สังฆภัณฑ์.
ชัยวัฒน์ ไชยสุข และสมเกียรติ รักษ์มณี. (2559). “กลวิธีการใช้ภาษาและภาพสะท้อนสังคมในวรรณกรรม บันเทิงคดีของมกุฎ อรฤดี”, ใน รมยสารภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 10 (1) : 55-64.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : นาคร.
ธีระพงษ์ มีไธสง. (2560). ผีกับพุทธการผสมผสานทางความเชื่อ. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.
บุญธรรม ทองเรือง. (2536). วรรณกรรมคำสู่ขวัญอีสาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เบญจพร เรืองเลิศบุญ. (2530). สินไซฉบับจังหวัดปราจีนบุรี : การศึกษาเชิงวิจารณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประคอง นิมมานเหมินทร. (2521). “ขวัญและคำเรียกขวัญ”, ลานนาไทยคดี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์เจริญวิทย์การพิมพ์.
ประภาส ทิพยมาศ. (2551). วรรณศิลป์ในบทสู่ขวัญของหมอสูดจำเนียร พันทวี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระครูถาวรธรรมรัตน์. (ม.ป.ป.). หนังสือสวดมนต์ สู่ขวัญ. ม.ป.ท.
สมชาย ลำดวน และคณะ. (2554). สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัฒนธรรมทางจิตใจในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สวิง บุญเจิม. (2534). ตำรามรดกอีสาน. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.
สายหยุด บัวทุม. (2559). เปรียบเทียบบทสู่ขวัญลาวกับบทสู่ขวัญอีสาน : โครงสร้างทางวรรณกรรมและบทบาทหน้าที่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภางค์ จันทวานิช และสุวรรณา สถาอานันท์. (2539). พื้นฐานความคิดทางสังคมและวัฒนธรรมไทย. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสังคมและวัฒนธรรมไทย หน่วยที่ 1-7. หน้า 141-192. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.