กระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชน ในองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาภาคสนามในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก โดยการสัมภาษณ์ และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหมด 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชนประกอบไปด้วย 1. การใช้กิจกรรมทางพุทธศาสนา 2. การใช้เครือข่ายและองค์กรชุมชน 3. การมีผู้นำทางการที่มีภาวะผู้นำที่ดี และ 4. เจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการวิเคราะห์กระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชน ประกอบไปด้วย 1.กระบวนการสร้างความสามัคคีโดยกิจกรรมต่างๆของชุมชน และ 2. การสร้างความสามัคคีผ่านบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2561). ภาวะผู้นํากับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 6 (ฉบับพิเศษ) : 527-538.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2543). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จินดาวรรณ กาญจนภานุพันธ์. (2562). กระบวนการสร้างความสามัคคีเชิงพุทธในหมู่บ้านเชตวัน (หนองหมู) อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 : 72-86
ชลัท ประเทืองรัตนา. (2560). การสร้างความปรองดอง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ซูเรียนา บางปู. (2557) .ภาวะผู้นําและการจัดการความขัดแย้งในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาอําเภอเมืองยะลาจังหวัดยะลา.(การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทิพวรรณ พฤฒากรณ์. (2562). การเสริมสร้างความสามัคคีในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 : 92-107
พระครูสุจิณกัลยาณธรรม (2547). ความเข้มแข็งของชุมชนและความร่วมมือในการแข่งขันเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระบุญเส่ง ตปสีโล, พระโสภณพัฒนบัณฑิตและพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2565). วิเคราะห์การสร้างความสามัคคีเชิงพุทธด้วยประเพณี หลักบ้านหลักเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Modern Learning Development ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 : 296-306
ภิญญาพัชญ์ สรณวัชรเอกากุล. (2566). คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์กับการบริหารการพัฒนาชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).เชียงใหม่ : สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.