การศึกษาความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา The Study on Diversity in Multicultural Society Based on Cultural Capital and Resources

Main Article Content

นิศานาถ แก้ววินัด
อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์
ธาริณี มีเจริญ
ศุภวิช นิยมพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป้าหมายและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 120 คน ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลโคกตะเคียน และตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง และตำบลบักได และตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย จากนั้นนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ         การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ทำให้เห็นภาพรวมของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชามีความหลากหลายทางประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความหลากหลายทางภาษา 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม ทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ได้แก่ 3 ส ประกอบด้วย (1) การสื่อสารระหว่างกัน คือ การพูดคุย กำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง เพื่อลดความขัดแย้ง (2) การสร้างสรรค์ โดยสร้างสัมพันธภาพ สร้างพื้นที่เรียนรู้ และนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลง และ (3) การสนับสนุน ในที่นี้คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดหรือให้มีกิจกรรม/วัฒนธรรม/งานประเพณี โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วน และ 3) การจัดการความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมที่เหมาะสม คือ การกำหนดวิธีการ แนวทาง หรือกระบวนการในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนที่มีความแตกต่างในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และอัตลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และคณะ. (2564). รูปแบบการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 436-450.

เจน สุขศรีทอง และคณะ. (2564). การศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 13(3), 19-35

บัญญัติ สาลี และชัยวัฒน์ เสาทอง. (2565). ปัญหาการรับบริการสุขภาพข้ามแดนของผู้ป่วยชาวกัมพูชา. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(1), 89-102.

พรชัย นาคสีทอง และอนินทร์ พุฒิโชติ. (2557). พลวัตทางพหุสังคมและพหุวัฒนธรรมของผู้คนในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2522-2553). วารสารไทยศึกษา, 10(2), 117-153.

พระครูปลัดสาธุวัฒน์. (2566). การบริหารจัดการวัฒนธรรมในการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มชนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 273-284.

พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, คงสฤษฎ์ แพงทรัพย์ และพูนศักดิ์ กมล. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 46-59.

พระเมธีวรญาณ (สายเพชร วชิรเวที) และพระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน. (2564). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย: กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1653-1665.

ศิริจิต สุนันต๊ะ. (2559). สถานการณ์โต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(1), 5-30.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย (พ.ศ. 2566-2570). https://gdcatalog.go.th/dataset/gdpublish-nscsse-51-02

โสภี อุ่นทะยา และปณิตา น้อยหลุบเลา. (2564). ศาลาแก้วกู่ : เรื่องเล่ากับกลวิธีการสร้างพหุวัฒนธรรมในชุมชนแม่น้ำโขง. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 149-166.

อนุกูล ศิริจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 18-31.

อุทิศ ทาหอม และสุนันท์ เสนารัตน์. (2561). การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 5(1), 15-24.

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และคณะ. (2565). การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2552). การวิเคราะห์และนำเสนอผลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf

โอภาส เกาไศยาภรณ์. (2557). เครือข่ายสังคมเชิงเสมือนกับการพัฒนาการจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 5-14.