การเปลี่ยนแปลงของคนจนเมืองภายใต้ผลกระทบของการพัฒนาเมืองขอนแก่น : ฉากทัศน์ฐานจากการสำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคนจนเมืองภายใต้ผลกระทบจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเมืองขอนแก่น เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนจนเมืองในเขตเทศบาลนครขอนแก่น รวม 506 ราย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตามบัญชีรายชื่อสมาชิกชุมชนที่รวบรวมโดยผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงของคนจนเมืองขอนแก่น ประกอบด้วย การเปลี่ยนกายภาพของชุมชนจากการกลายเป็นเมือง การเปลี่ยนอาชีพของคนจนเมือง การแสวงหาสิทธิความเป็นเจ้าของ “บ้าน” กับการลงหลักปักฐานในนครใหญ่ รูปแบบความสัมพันธ์กับเมืองในฐานะชนชั้นที่ถูกแบ่งแยกด้วยต้นทุนทางเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อนำมาเป็นหนทางสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง
Article Details
References
กฤษดา ปัจจ่าเนย์. (2560). ความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กฤษดา ปัจจ่าเนย์ และธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). วัฒนธรรมการบริโภคของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6 (2), 221-240.
กิตติ หนองพล และนพดล ตั้งสกุล. (2555). แนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเมืองชุมแพจังหวัดขอนแก่น จากการดำเนินการตามโครงการบ้านมั่นคง. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง, 8(1), 47 - 62.
กิตติกาญจน์ หาญกุล, กนกวรรณ มะโนรมย์ และนิตยา กิจติเวชกุล. (2556). สนามการต่อรองเชิงอำนาจของชาวชุมชนแออัดในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 45-73.
คณิน เชื้อดวงผุย, อนุวัฒน์ พลทิพย์, วิบูลย์ วัฒนนามกุล และสุภนัย ประเสริฐสุข. (2561).วิถีชีวิตของคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 1(2), 1341-1362.
ญาณกร โท้ประยูร, จักรพงษ์ เปี่ยมเมตตา และอัครกฤษ นุ่นจันทร์. (2559). เมืองน่าอยู่กับการจัดการขยะในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารรัชต์ภาคย์, 10(20), 82-95.
ญาณิกา อักษรนำ. (2560). พลวัตความหมายของคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน : กรณีศึกษาศูนย์พักคนไร้บ้านโดยมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(1), 39-57.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับงานพัฒนาสังคม. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2566). การกลายเป็นเมืองและการพัฒนาชุมชนเมือง. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธิติญา เหล่าอัน. (2563). ชุมชนข้างทางรถไฟกับผลกระทบจากการสร้างรถไฟรางคู่: ชุมชนข้างทางรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 254-289.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2560). ความเปราะบางของครัวเรือนในเมืองอุดรธานีภายใต้บริบทการขยายตัวของเมือง. วารสารพัฒนาสังคม, 19(2), 69-92.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง และมนต์ชัย ผ่องศิริ. (2562). เมืองขอนแก่น: การเติบโต ความท้าทาย และโอกาส. นนทบุรี: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
บุญเลิศ วิเศษปรีชา, อรรถจักร สัตยานุรักษ์, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ และณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2561). ชุมชนแออัดและคนจนเมืองที่เปลี่ยนไป ในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ผกามาศ ถิ่นพังงา. (2558). ถอดบทเรียนโครงการเสริมสร้างการรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Mekong – Building Climate Resilient Asian Cities: M-BRACE) เมืองอุดรธานี และเมืองภูเก็ต. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
ภูมิสิทธิ์ สุวรรณศักดิ์ และอุดม โคสิน. (2546). ปัญหาชีวิตกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาสในชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิจิตร ระวิวงศ์, วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ และประดิษฐ์ ศิลาบุตร. (2542). สถานการณ์คนจนและการจัดการแก้ปัญหาคนจนในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ. รายงานโครงการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข ไพฑูรณ์ คัชมาตย์ และเพียรศักดิ์ ภักดี. (2547). เสียงสะท้อนของคนจนเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, 3(2), 27-38.
สมโภช รติโอฬาร. (2552). สุขภาพ: ผลกระทบจากความเป็นเมือง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 2(7), 55-63.
สุรพงษ์ เล็กสมบูรณ์. (2557). กลยุทธ์การจัดการขยะชุมชนแบบประชาชนมีส่วนร่วมของเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 7(1), 125-146.
อคิน รพีพัฒน์ และคณะ. (2550).รายงานโครงการวิจัยประเมินผลโครงการบ้านมั่นคง เรื่อง คนจนเมือง: การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์และทัศนะที่มีต่อตนเองและสังคม. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิญญา เวชยชัย และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส. รายงานโครงการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2550). การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับจนจนเมือง: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Chamaratana, T., Ayuwat, D. and Chinnasri, O. (2017). “Social Mobility Springboard: Occupational Prestige of Thai Labour Brokers”, Historical Social Research. 42 (3), pp. 335-347.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition. New York: John Wiley & Sons.
Phongsiri, M. (2019). Land Conflict and Land Governance in the Greater Mekong Sub-Region: Case Studies of Urban and Peri-urban in Thailand. Journal of Mekong Societies, 15(1), 87-110.
Phuttharak, T. and Dhiravisit, A. (2014). Regional Rapid Growth in Cities and Urbanization in Thailand. Journal of Arts and Humanities (JAH), 3(1), 57-63.