การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์
ลดาวัลย์ ปัญตะยัง
ศรัณย์ ศิลาเณร

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากหลายของทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางบูรณาการการบริหารจัดการเพื่อปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายของทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป้าหมายและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 120 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความหลากหลายของทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของประชาชนในชุมชน และปัจจัยสนับสนุนในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น สามารถทำนายการจัดการตนเองต่อทรัพยากรในท้องถิ่นของชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัญหาและอุปสรรคเกิดจากประชาชนบางคนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เคารพกติการ่วมกัน และชาวบ้านมีหนี้สินมากที่สุด และ 3) ชุมชนท้องถิ่นต้องใช้กลไกการบริหารจัดการที่ดีและการสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรมีการให้ความรู้ ปลูกฝังทัศนคติ จิตสำนึกที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในชุมชน ต้องมีการประชุมและสร้างความเข้าใจในชุมชนให้มีข้อตกลงในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมป่าไม้. (2566). คู่มือการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. https://forestinfo.forest.go.th/Content/file/Participate ManagementManual.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสาหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2562). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ธรรมสาร.

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.). (2560). คู่มือการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ.

นพพล อินทรีย์ และคณะ. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น : หลักการ วิธีการ และกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development, 8(4), 335-347.

พระครูใบฎีกาธีรยุทธ ภู่โคกหวาย และพระเทพศาสนาภิบาล. (2565). รูปแบบกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 254-269.

พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์). (2563). การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 137-148.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.

สุนิตย์ เหมนิล และธัชวรรธน์ หนูแก้ว. (2565). บทบาททรัพยากรท้องถิ่นต่อครัวเรือนเกษตรกร กรณีบ้านดอนหาด จังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 48(2), 93-112.

อรทัย ก๊กผล. (2566). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. https://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/ M10_486.pdf

อุทิศ ทาหอม และสุนันท์ เสนารัตน์. (2561). การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 5(1), 15-24.

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และคณะ. (2565). การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Ko, W., & Liu, G. (2018). An Analysis of Cause-Related Marketing Implementation Strategies Through Social Alliance: Partnership Conditions and Strategic Objectives. Journal of Business Ethics, 100(2), 253-281.