การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

บุญทิวา สิริชยานุกุล
วันชนะ จิตอารีย์

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 100 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต3 อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เรื่อง อ่านเขียนเรียนเพลิน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียน และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์ (E1/E2) ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย มีคุณภาพด้านเนื้อหา มีความเหมาะสมในระดับดี ( = 4.24,S.D.= 0.62) คุณภาพด้านเทคนิค มีความเหมาะสมในระดับดี (=4.13,S.D.= 0.58) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.91/83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียเพื่อทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีคะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.89,S.D=0.33)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญนภา บุญนิธี. (2564). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านสะกดคำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยรายบุคคล. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เบญจพร พลไกร. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่น สำหรับนักเรียนที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ในสถานการณ์

โควิด-19 ชั้นประถมศึกษาปีที่3. (การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พีรภาว์ ลบช้าง. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเกมการแข่งขันสะกดคำวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. (การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2559). ครูกับการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารุณี คงวิมล. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

แวววิไล จำปาศักดิ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณนาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิวัช เยียระยงค์ (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการสอน เรื่องการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายใจ พวงสายใจ. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระบบเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต3 สู่โรงเรียนมาตรฐานสากล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สิรภัทร ชลศรานนท์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติร่วมกับการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงบรรยาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพร พวงสำลี. (2564). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระดับปริญญาตรีด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย. นครปฐม : สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

Roskos, K., Brueck, J. & Widman, S. (2009), Investigating analytic tools for e-book design in early

literacy learning, Journal of Interactive Online Learning, 8(3), 218–240.