อุดมการณ์ที่ปรากฏในวาทกรรมการท่องเที่ยวของนิตยสาร เพื่อการท่องเที่ยวของไทย The Ideology in Thai Travel Magazines's Tourism Discourse

Main Article Content

พัชราภรณ์ คชินทร์
เชิดชัย อุดมพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ และกลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในวาทกรรมการท่องเที่ยวของนิตยสาร (นิตยสารอนุสาร อ.ส.ท. และนิตยสารเพื่อนเดินทาง) ที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2530–2559 จำนวน 720 ฉบับ ผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะบทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว บทบรรณาธิการ และคอลัมน์ถาม-ตอบจดหมายของผู้อ่าน โดยใช้แนวทางทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของแฟร์เคลาฟ์ (Fairclough, 1995, p. 59) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ นิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวของไทยถ่ายทอดอุดมการณ์สำคัญ 5 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์ความเป็นเมืองความเป็นชนบท อุดมการณ์การพัฒนา อุดมการณ์ความเป็นไทย และอุดมการณ์ชนชั้นทางสังคม โดยผู้ผลิตได้ประกอบสร้างและถ่ายทอดอุดมการณ์ทั้งหมดผ่านกลวิธีทางภาษา 10 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำเรียกขาน คำแสดงอาการ การใช้อุปลักษณ์ แสดงทัศนภาวะ การอ้างถึง การขยายความ การใช้สหบท การใช้มูลบท การตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ และการใช้จุดจับใจเชิงข่าว ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปี นิตยสารถ่ายทอดและผลิตซ้ำอุดมการณ์ตามการปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อเหตุการณ์ในสังคม นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fairclough, N. (1995). Media discourse. London: Edward Arnold.

ฉวีวรรณ สุวรรณโชคอิสาน. (2529). พัฒนาการของนิตยสารท่องเที่ยวในประเทศไทย. (สารนิพนธ์วารสาร

ศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ท่องเที่ยวปี 64 ททท.ดันรายได้ต่างชาติเที่ยวไทย ติด Top 5 โลก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/business/453972.

นฤพนธ์ เอื้อธนวันต์. (2539). นิตยสารแนวท่องเที่ยว: ศึกษาองค์กร เนื้อหา และผู้รับสาร. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2563). ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางท่องเที่ยวและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ (On Thai Tourism). กรุงเทพฯ : สมมติ.

ภูพงัน ดาวกระจาย. (2560). ความเป็นธรรมชาติในวาทกรรมท่องเที่ยวไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มัญชุสา อังคะนาวิน. (2547). ปริจเฉทสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐบาลไทย. (2565). คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42246.

วีรยุทธ ศรีสุวรรณกิจ. (2549). การพักผ่อนหย่อนใจแบบตะวันตกของชนชั้นนำสยาม. (วิทยานิพนธ์อักษร

ศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2564). ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565, จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link. php?nid=989&filename=document.

สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์. (2544). วาทกรรมโฆษณาการท่องเที่ยว: ภาพแทน ตัวตน และความเป็นไทย. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิทธิพันธ์ พัฒนานุพงษ์. (2539). บทบาทของอนุสาร อ.ส.ท. ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์ธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.