การวิเคราะห์อนุภาคและความขัดแย้งที่ผสมผสานในนวนิยายชุดหิมวันต์รัญจวน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์อนุภาคที่ปรากฏในนวนิยายชุดหิมวันต์รัญจวน และเพื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งที่ผสมผสานที่ปรากฏในตัวละครเอกในนวนิยายชุดหิมวันต์รัญจวน ผลการวิจัยพบว่า อนุภาคในนวนิยายชุดหิมวันต์รัญจวน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) อนุภาคตัวละคร พบ 2 อนุภาค คือ อนุภาคตัวละครที่เป็นอมนุษย์ แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ สัตว์หิมพานต์ วิทยาธร คนธรรพ์ เทวดา และมักกะลีผล ส่วนอนุภาคตัวละครที่เป็นมนุษย์ พบ 2 ประเภท คือ ฤๅษี และมนุษย์ผู้มีดวงจิตของสัตว์หิมพานต์ 2) อนุภาควัตถุหรือสิ่งของ 5 ประเภท ได้แก่ ของวิเศษของอมนุษย์กึ่งเทวะ ของวิเศษที่มีอำนาจปกป้องคุ้มครอง ของวิเศษที่ได้จากสัตว์หิมพานต์ ของวิเศษที่เป็นพืชในป่าหิมพานต์ และของวิเศษที่เป็นเครื่องผูกมัดจองจำ 3) อนุภาคเหตุการณ์หรือพฤติกรรม พบ 6 อนุภาค ดังนี้ อนุภาคการสมพาสผิดธรรมชาติ อนุภาค การซ่อนตัว อนุภาคการแปลงร่าง อนุภาคการเกิดใหม่ อนุภาคประตูข้ามมิติ และอนุภาคเหตุการณ์เกี่ยวกับการใช้เวทมนตร์
ด้านความขัดแย้งที่ผสมผสานที่ปรากฏในตัวละครเอกในนวนิยายชุดหิมวันต์รัญจวน พบเพียง 2 ตัวละคร ได้แก่ สิงห์ ตัวละครเอกจากนวนิยายเรื่องมนตราราชสีห์ มีความขัดแย้งที่ผสมผสานระหว่างความอ่อนโยน มีเมตตาและความเด็ดขาด และอิลวราช หรือ อิลวา จากนวนิยายเรื่องร่ายรักกินรา มีความขัดแย้งที่ผสมผสานระหว่างมีเมตตา อ่อนโยน และเป็นผู้ดุดันมีโทสจริต ขณะที่ตัวละครเอกส่วนใหญ่มักเป็นตัวละครแบบอุดมคติ มีความดีพร้อมในทุกด้าน จึงไม่ปรากฏด้านตรงข้ามที่เป็นความขัดแย้งที่ผสมผสานในตัวละครนั้นๆ
Article Details
References
เก้าแต้ม (นามแฝง). (2557). นิมิตนาคา. บริษัทสถาพรบุ๊คส์.
ณัฐกฤตา (นามแฝง). (2557). ร่ายรักกินรา. บริษัทสถาพรบุ๊คส์.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประจักษ์ สายแสง และ Truong Thi Hang. (2560). ทวิภาวะ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี. 9(1), 1-36.
ผักบุ้ง (นามแฝง). (2557). มักกะลีที่รัก. บริษัทสถาพรบุ๊คส์.
พระญาลิไทย. (2554). ไตรภูมิพระร่วง. ศิลปาบรรณาคาร.
ลิซ (นามแฝง). (2557). มนตราราชสีห์. บริษัทสถาพรบุ๊คส์.
วชิรวิชญ์ มั่งมูล. (2553). อนุภาคในนิทานคำกลอนเรื่องพระคาวุต: การศึกษาเปรียบเทียบในนิทานไทย.
วารสารดำรงวิชาการ. 9(1), 171-188.
ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก. (2558). คติชนในนวนิยายของพงศกร [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภธัช คลุ้มครอง. (2564). หิมพานต์: จากไตรภูมิกถา สู่การ์ตูนแอนนิเมชันสามมิติ เรื่องปังปอนด์ตะลุยโลก
หิมพานต์. วารสารวรรณวิทัศน์.21(1),145-174.
https://so06.tci- thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/243189
สมเกียรติ รักษ์มณี. (2558). การแต่งนวนิยาย. สัมปชัญญะ.
สะมะเรีย (นามแฝง). (2557). ครุฑาล่าหัวใจ. บริษัทสถาพรบุ๊คส์.
Truong Thi Hang. (2558). อาร์คีไทพ์ความขัดแย้งที่ผสมผสาน: กรณีศึกษาบุคลิกภาพของประธานาธิบดี
โฮจิมินท์. ใน การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2558 “สร้างสรรค์สังคมสู่
ประชาคม อาเซียน”(หน้า 233-250). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Truong Thi Hang. (2562). กำเนิดพรหมจารี: กรณีศึกษาเปรียบเทียบนิทานเวียดนามเรื่อง “เสาะเสื่อ” กับ
นิทานไทยเรื่อง “เท้าเต่า”. ลานนาการพิมพ์.