ความจริงสูงสุดในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับความจริงสูงสุดในพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และในเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ หนังสือศาสนาเปรียบเทียบ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ และหลักปฏิบัติเพื่อถึงความจริงสูงสุด จากการศึกษาเกี่ยวกับความจริงสูงสุดในระบบความเชื่อของพุทธศาสนาพบว่า “นิพพาน” นั้นเป็นความจริงสูงสุดของพุทธศาสนา แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท 1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมี อุปาทิเหลือ) 2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ) ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบหลักสัจธรรมด้วยการตรัสรู้คือธรรมะ และได้นำแนวทางมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุเป้าหมายของชีวิต
จากการศึกษาเกี่ยวกับความจริงสูงสุดพบว่า แนวทางและหลักปฏิบัติเพื่อการที่จะเข้าถึงนิพพานได้นั้น บุคคลต้องฝึกฝนอบรมตนเองและปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือการปฏิบัติตามทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เขาก็ย่อมบรรลุถึงความหลุดพ้น (นิพพาน)
Article Details
References
นพดล ปรางค์ทอง. (2554). จริยธรรมกับชีวิต. เอกสารประกอบการสอน คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.
พระธรรมปิฎก. (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก. (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.
ธรรมปิฎก, พระ. (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณรงค์ เชิดสูงเนิน, (2522). พระพุทธศาสนากับพัฒนามนุษย์. เอกสารประการประชุมสัมมนาเรื่อง ปัญหาการเรียนการสอนวิชาปรัชญาในประเทศไทย ชมรมปรัชญาและศาสนา, วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2522 ณ ห้องประชุมนิติศษสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า 2.
พระไตรปิฏกฉบับสังคายนา. (2530). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
มนต์ ทองชัช. (2530). 4 ศาสนาสำคัญของโลกปัจจุบัน. พราหมณ์-ฮินดู พุทธ คริสต์และอิสลาม. กรุงเทพฯ: โอ เอส. พริ้นติ้ง.
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2520). พระพุทธศาสนาและโลกในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามรัฐ.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2521). โลกทัศน์พระพุทธศาสนา. เอกสารประกอบคำบรรยายแก่นักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2521, หน้า 9-10.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2521). ปัญหาเรื่องอัตตา-อนัตตา และทรรศนะคติเรื่องกรรม. เอกสารประกอบการบรรยายแก่นักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2521, หน้า 26.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2563). พระพุทธพจนะในธรรมบท. แปลโดย เสถียรพงษ์ วรรณปก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศยาม.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2532). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สนิท ศรีสำแดง. (2534). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์.
สิวลี ศิริไล (2532). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1, ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.