การวิเคราะห์ศิลปะและตระกูลภาพยนตร์สำหรับการออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ Art Analysis and Film Genre for Production Design

Main Article Content

พัชนี แสนไชย

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประเด็น คือ เพื่อวิเคราะห์ศิลปะและตระกูลภาพยนตร์สำหรับการออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา/ตัวบท และนำเสนอในรูปแบบพรรณนา ภายใต้แนวคิด/ทฤษฎีด้านศิลปะและภาพยนตร์ เรื่องขององค์ประกอบของการออกแบบ การจัดองค์ประกอบรวมในฉาก อารมณ์และสี พร้อมกับศึกษาเรื่องตระกูลภาพยนตร์มาใช้ในการออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ในมิติของโครงสร้างการเล่าเรื่อง ตัวละคร แก่นความคิด ฉาก/การจัดวางองค์ประกอบภาพ การสื่อความหมายในระดับสัญลักษณ์ วิธีการเร้าอารมณ์ของผู้ชมและอุดมการณ์ ด้วยการศึกษาจากภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ทั้งหมด 10 เรื่อง ในสาขาการออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ตั้งแต่ปี 2013-2021  ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ วิจัย บทสัมภาษณ์และคลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ที่ศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จำนวน 47 ชิ้น ทั้งไทยและต่างประเทศ
            ผลการวิจัยพบว่า ศิลปะการออกแบบมุ่งเสนอ “ความงาม” และ “ซ่อนความหมาย” ภายใต้การออกแบบสถาปัตยกรรมในฉาก สถานที่ บรรยากาศ อุปกรณ์ประกอบฉาก และสภาพแวดล้อมของตัวละครในภาพยนตร์ การจัดองค์ประกอบรวมในฉาก อาศัยความความสมจริงเป็นหลักสำคัญประการแรก การสื่อความหมายไม่ได้สื่อสารโดยตรงแต่ซ่อนความหมายแฝง การตอบรับของผู้ชมเน้นการสื่อสารอารมณ์อย่างมนุษย์ โดดเด่นด้านอารมณ์และสี ผลการศึกษาเรื่องของตระกูลภาพยนตร์ 1) ผู้กำกับเป็นผู้กำหนดทิศทางของโครงสร้างการเล่าเรื่องเพื่อทำให้คนดูคาดเดาได้ว่ากำลังรับชมภาพยนตร์ตระกูลใดอยู่ 2) การกระทำ/บุคลิกลักษณะนิสัยของตัวละครอยู่ภายใต้มุมมองของผู้สร้าง 3) แก่นความคิด คือ หัวใจสำคัญที่ผู้ออกแบบต้องการสื่อสารกับคนดูและทีมงาน 4) ฉากหรือการจัดวางองค์ประกอบของฉากถูกเนรมิตขึ้นมาใหม่ใช้ความจริงผสมจินตนาการ ภายใต้ห้วงเวลาอดีต ปัจจุบันและอนาคต 5) ใช้เทคนิคทางภาพและเสียงเพื่อสื่อความหมาย 6) เน้นไปที่วิธีการเร้าอารมณ์ของผู้ชมผ่านภาพโดยเสียงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น 7) อุดมการณ์หลักๆของภาพยนตร์มาจากมุมมองของผู้สร้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา เกิดดี. (2547). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.

ทรงเกียรติ จรัสสันติจิต, มาโนช ชุมเมืองปัก และฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2563). การวิเคราะห์ความเป็นตระกูลภาพยนตร์วัยรุ่นของภาพยนตร์ไทย. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 20(1), 92-103.

นพดล อินทร์จันทร์. (2557). การศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับศิลป์ในภาพยนตร์ไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16 (1), 57-67.

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา.(2552). ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พับลิค บุเคอรี.

ปิลันลน์ ปุณญประภา. (2564). องค์ประกอบทางศิลปะของภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลด้านองค์ประกอบศิลป์จากรางวัลออสการ์ปี ค.ศ. 2015 – 2019. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(1), 88-97.

รินบุญ นุชน้อยบุญ. (2559). การออกแบบในงานภาพยนตร์กับบริบทสังคมและวัฒนธรรม : กรณีศึกษา. ผลงานของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุลในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2557. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 17(2), 95-103.

สุรีรัตน์ อุปพงศ์. (2559). อิทธิพลศิลปะเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ที่ปรากฏในการกำกับศิลป์ของมิ เชล กอนดรี้ ในภาพยนตร์เรื่อง The Science of Sleep. วารสารวิชาการ VERIDIAN JOURNAL. 9(2), 2332-2347.

สุรีรัตน์ อุปพงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและภาพยนตร์เซอร์เรียลิสม์ กรณีศึกษาการกำกับ ศิลป์. Silpakorn University Journal of Fine Arts. 4(2) 101-147.

Jo Barker, & Peter Wall. (2006). AS Media Studies: The Essential Revision Guide for AQA. Routledge.