การสื่อสารอัตลักษณ์ของร้านอาหารฟิวชั่นในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

สากีเราะ แยนา เบ็ญฮารูน
ฮัมเดีย มูดอ

บทคัดย่อ

               การสื่อสารอัตลักษณ์เป็นการสื่อสารตัวตนที่โดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่น นำเสนอผ่านข้อความหรือสัญลักษณ์ที่เข้าใจร่วมกันในสังคม การสื่อสารอัตลักษณ์มีความสำคัญในธุรกิจร้านอาหารฟิวชั่น โดยเฉพาะในแง่ของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มผู้บริโภคให้มากที่สุด งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์อัตลักษณ์และวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์ของร้านอาหารฟิวชั่น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามผู้ประกอบการและพนักงานประจำร้านอาหารฟิวชั่นในจังหวัดปัตตานี จำนวน 5 ร้าน ๆ ละ 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 10 คน ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของร้านอาหารฟิวชั่น มี 3 รูปแบบ คือ อัตลักษณ์ด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ อัตลักษณ์ด้านอาหารฮาลาล และอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์ไปสู่ผู้บริโภคนั้น มีทั้งการสื่อสารด้วยวาจา การสื่อสารด้วยข้อความ และการสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งสื่อออฟไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ สื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงในธุรกิจร้านอาหารฟิวชั่น คือ เฟซบุ๊ก ไลน์ และอินสตาแกรม เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้คนทุกระดับ และมีการใช้อย่างแพร่หลายจนเป็นสื่อหลักของผู้คนในโลกยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง ผลจากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาการสื่อสารอัตลักษณ์ของแบรนด์ในภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้แตกต่างเหนือคู่แข่ง รวมถึงเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับการสื่อสารอัตลักษณ์ของแบรนด์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐชา ธำรงโชติ. (2565). การประยุกต์ใช้เส้นทางของผู้บริโภคและจุดสัมผัสของผู้บริโภคกับตลาดของร้านค้าปลีก ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในโลกการตลาดดิจิทัล. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 40(2), 107-122.

ธิดารัตน์ ไร่วิบูลย์. (2552). การสร้างอัตลักษณ์และกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ผ่าน www.bloggang.com [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์สารสนเทศ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์. (2559). ธุรกิจร้านอาหาร “เมนูฟิวชั่น” มัดใจลูกค้า. เดลินิวส์ออนไลน์. https://d.dailynews.co.th/article/540132/

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.

พงษ์พันธ์ สันติธรรม และปฐมา สตะเวทิน. (2563). เส้นทางการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (customer journey) Gen X และ Gen Y: กรณีศึกษาแบรนด์นาฬิกาหรู 3 อันดับ: Rolex, Omega และ Patek Philippe. วารสาiร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(3), 103-118.

เพ็ญนภา วัยเวก. (2560). การสื่อสารและการสร้างอัตลักษณ์ด้านสุขภาพผ่านอินสตาแกรม. สารอาศรมวัฒนธรรม วลัยลักษณ์, 16(2), 73-94.

ภูวนารถ ถาวรศิริ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจ น้ำดื่มท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2171-2187.

ภัทรพล ยินดีจันทร์. (2565). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์, การจัดการการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รจิต คงหาญ และอนุชิต แสงอ่อน. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจร้านอาหารริมทางสมัยใหม่ใน กรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 91-103.

ศศิมา อุดมศิลป์. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดโดยใช้ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ในธุรกิจร้านอาหาร [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2560). การวิเคราะห์ผู้รับสารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 34(1), 168- 187.

สวิตา อยู่สุขขี และอรคนางค์ นวลเจริญ. (2565). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้ของ OTOP นวัตวิถี บ้านพุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(2), 83-98.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ.

อมรรัตน์ ปรีชารัตน์ และวอนชนก ไชยสุนทร. (2562). พฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารผ่านการรีวิวจากสื่อสังคม ออนไลน์. วารสารการบริหารและการจัดการ, 9(2), 209-219.

ฮัมเดีย มูดอ และสากีเราะ แยนา เบ็ญฮารูน. (2566). การวิเคราะห์วัฒนธรรมมลายูผ่านอัตลักษณ์ตราสินค้าของร้าน Bagus Chicken ปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(2), 112-121.

Hall, S., & Du Gay, P. (1996). Questions of culture identity. Sage.

Kelley, F. L. (2007). Face-time: The construction of identity on Facebook [Honors Thesis, Miami University]. Miami University.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. Pearson Prentice Hall.

Krungsri GURU SME. (2019). ร้านอาหาร – ธุรกิจทำเงินที่มีอนาคต. https://www.krungsri.com/th/plearn- plearn/restaurant-make-money-future

Navavongsathian, A. (2017). An evaluation of factors affecting private label brand awareness through social media in Bangkok metropolitan. Proceeding of the 11th National Conference on Business Administration (pp. 537-544). Southeast Bangkok College.

Sarioglan, M. (2014). Fusion cuisine education and its relation with molecular gastronomy education (comparative course content analysis). International Journal on New Trends in Education and Their Implications, 5(3), 64-70.

TBS Marketing. (2023). What is the difference between ATL, BTL and TTL advertising? https://tbs- marketing.com/difference-between-atl-btl-and-ttl-advertising/