แนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา: กรณีศึกษาคาบสมุทรสทิงพระ

Main Article Content

ภัทริยา สังข์น้อย
ประภาพร ยางประยงค์
หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 3) แนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 22 คน และใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบตามสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีลักษณะสำคัญ คือ ดำเนินชีวิตตามวิถีโหนด-นา-เล และให้ความสำคัญกับความเชื่อและศาสนาที่นับถือ 2) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจุดประสงค์หลักของการเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และ 3) แนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คือ การสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว โดยการวางแผนแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่สมาชิกในชุมชน จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ และการพัฒนาที่พักที่ให้มีมาตรฐาน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระสามารถนำไปเป็นแนวทางกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระให้เป็นที่ พึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวและรายได้ของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสารโชค ธุวะนุติ และชนัด เผ่าพันธุ์ดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 39-45.

เพียงใจ คงพันธ์ และภัทราวรรณ วังบุญคง. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 15-29.

วิจิตรา บุญแล, เสรี วงษ์มณฑา, ชวลีย์ ณ ถลาง และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2564). การศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ จังหวัดจันทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26 (1), 46-55.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และเสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 244-256.

หทัยรัตน์ สวัสดี. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนบ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 64-73.

อดิศร ศักดิ์สูง และวรุตม์ นาที. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 8, 102-123.