ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ

บทคัดย่อ

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง.66 - 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคที่ระดับ.972 เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคการศึกษาที่ 2/2565 จากนักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำ นวน 142 คน ซึ่งคำนวณขนาดกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุโดยใช้วิธีคัดเลือกแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลในภาพรวมที่ระดับสูง ( = 3.75,SD =.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่มีระดับสูงสุด ( = 3.97, SD =.77) ส่วนทักษะการรักษาข้อมูลส่วนตัวเป็นทักษะที่มีระดับต่ำสุด ( = 3.60, SD=.76) และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ เจตคติต่ออินเทอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์ (X4) การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (X3) และผลการเรียน (X2) โดยทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลได้ร้อยละ 58.1 ดังสมการพยากรณ์ =.478 +.383(X4) +.346(X3) +.142(X2)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำ หรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). หจก.สามลดา.

ชุติมา สัจจานันท์. (2564). หน่วยที่ 4 ความฉลาดรู้เรื่องสารสนเทศ สื่อและดิจิทัล. เอกสารการสอนชุดวิชาทักษะชีวิต หน่วยที่ 1-7. สำ นักพิมพ์มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2562). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศูนย์บริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐทิตา โรจนประศาสน์ และประเสริฐ ทองหนูนุ้ย. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง. โอเดียนสโตร์.

ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และสมชัย วงษ์นายะ. (2563). แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำ แพงเพชร. สัก

ทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(4), 72-85.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2562). สังคมวิทยาดิจิทัล: แนวคิดและการนำ ไปใช้. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี,6(1), 43-55.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2564). เจตคติต่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,

(3), 908-923.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำ เร็จรูป G*Power. วารสารวิชาการสถาบัน

เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 496-507.

รินทร์ลภัส เกตุวีระพงศ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อ และการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัด

เชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 17(2),143-160.

ฤทธิ์ติยา ธรรมสวาสดิ์. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมุกดาหาร [วิทยานิพนธ์

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

วลัญชพร ทุ่งสงค์ และลักขณา สริวัฒน์. (2562). การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน

สารคามพิทยาคม อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,10(3), 19-34.

ศรีดา ตันทะอธิพานิช. (2563). การสำ รวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563. มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย.

ศศิประภา เอี่ยมภูมิ. (2563). การพัฒนาแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2564. https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx

สุมน อยู่สิน. (2563). หน่วยที่ 12 อิทธิพลและผลกระทบของสื่อมวลชน. เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน หน่วยที่ 8-15. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.เสนีย์ คำสุข. (2564). หน่วยที่ 14 คุณธรรม จริยธรรม มารยาทและความรู้ด้านความเป็นพลเมือง. เอกสารการสอนชุดวิชาทักษะ

ชีวิต หน่วยที่ 8-15. สำ นักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Al-Zahranu, A. (2015). Toward digital citizenship: Examining factors affecting participation and involvement in the internet society

among higher education students. International Education Studies, 8(12), 203-217.

Feldman, R. S. (2015). Understanding psychology (12th Edition). McGraw-Hill Education.

Giddens, A. & Sutton, P. W. (2021). Sociology (9th Edition). Polity Press.

Ke, D. & Xu, S. (2017). A research on factors affecting college students’ digital citizenship. In

L., Juhong, N., Shoji, Z., Hai, & J. Qun (Eds.) The Sixth International Conference on

Educational Innovation through Technology (EITT) (pp. 61-64). https://ieeexplore.ieee.org/document/8308508

Mahadir, N. B., Baharudin, N. H., & Ibrahim, N. N. (2021). Digital citizenship skills among undergraduate students in Malaysia: A

preliminary study. International Journal of Evaluation and Research in Education, 10(3), 835-844.

Morduchowicz, R. (2020). Digital citizenship as a public policy in education in Latin America. UNESCO.

Tan, M. M., Park, J., Patravanich, S., & Cheong, J. (2015). Fostering digital citizenship through safe and responsible use of ICT. UNESCO.