ทรัพยากรการท่องเที่ยว และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อกำ หนดเส้นทางการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี -

Main Article Content

ณัฏฐกฤษฏิ์ เอกวรรณัง
กัลยา สว่างคง
อัศวิน แสงพิกุล

บทคัดย่อ

                  การวิจัยเรื่อง ทรัพยากรการท่องเที่ยว และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำ เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวและศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำ เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว 4 เส้นทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำ รวจทรัพยากรการท่องเที่ยวแบบประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว และตารางวิเคราะห์เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวในอำ เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีจำ นวนทั้งสิ้น 47 แห่ง เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจำ นวน 15 แห่ง และทางวัฒนธรรมจำ นวน 32 แห่ง ทรัพยากรการท่องเที่ยวในอำ เภอบางใหญ่ ร้อยละ 44.68 มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง รองลงไปร้อยละ 27.66 มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 19.15 มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว อยู่ในระดับค่อนข้างสูง และร้อยละ 8.51 มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับต่ำ ส่วนการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามศักยภาพและความพร้อมสำ หรับกิจกรรมการท่องเที่ยว 4 เส้นทาง ได้ผลดังนี้ (1)เส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 การ์เด้น เซ็นเตอร์ บุญยง ตลาดต้นไม้ สวนปามี 98 และสวนชะลอม คาเฟ่ และเส้นทางที่ 2 ป้าจิ๊ป ฟาร์ม ตลาดขายส่งต้นไม้พระเงิน และ Garden’9 Café และ (2) เส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 วัดสวนแก้ว บ้านสวนบัว (ตลาดน้ำ ประชารัฐสวนบัว) วัดดอนสะแก วัดราษฎร์ประคองธรรม และวัดพระนอน และเส้นทางที่ 2 บ้านสุขไพบูลย์โฮมสเตย์ วัดคงคา ตลาดน้ำ บางคูลัด ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางคูลัด วัดปรางค์หลวง และวัดอัมพวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). เอกสารประกอบการประชุม การปรับปรุงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงการ

ท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานประจำ ปี 2562 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). นนทบุรี. https://thai.tourismthailand.org/ Destinations/Provinces/นนทบุรี/226

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2540). สรุปคู่มือการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางด้านกายภาพ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2539). รายงานฉบับสมบูรณ์จังหวัดอุดรธานี: ลู่ทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี. ขอนแก่นการพิมพ์.

สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และ กวิน วงศ์ลีดี. (2555). การศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในประเทศไทย: กรณีศึกษาที่อำ เภอหาดใหญ่ จังหวัด

สงขลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี.

Richards, G. (2010). Creative tourism and cultural events. https://www.researchgate.net/publication/

_Creative_tourism_and_cultural_events

Swarbrooke, J. (2005). Sustainable tourism management (5 ed). Biddles Ltd.

United Nations. (1960). Guidelines on integrated planning for sustainable tourism development.United Nations Publication.