การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูที่จบการศึกษาไม่ตรงวุฒิทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

อุไรวรรณ หาญวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร (2) พัฒนา หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้สำาหรับครูที่จบการศึกษาไม่ตรงวุฒิ/ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ (3) ทดลองใช้หลักสูตร (4) ประเมินหลักสูตร ใช้การวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร โดยผู้บริหารโรงเรียน 5 คน ครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับประถมศึกษา 250 คน ศึกษานิเทศก์ 5 คน ระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตร ได้ยกร่างหลักสูตรและ ประเมินร่างหลักสูตร โดยครู ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การวัดและประเมินผล ระยะที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตรกับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จำานวน 30 คน ระยะที่ 4 ประเมินการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบ CIPP Model ผลการวิจัย (1) ครูส่วนใหญ่ไม่แม่นยำในเนื้อหา วิทยาศาสตร์ ขาดความมั่นใจในการสอน ครูที่จบการศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต มีปัญหาด้านเทคนิค วิธีสอน มีความต้องการเสริมความรู้เนื้อหาสาระวิทยาศาสตร์ เทคนิค การสอน วิธีการสอน การใช้สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (2) หลักสูตรที่สร้างขึ้น มี 6 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4 หน่วยการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนการสอน ยึดการ อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ศึกษาเอกสารความรู้ด้วย ตนเอง 5) สื่อและวัสดุอุปกรณ์ 6) การวัดและประเมินผล คุณภาพของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน มากที่สุด ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับ มากที่สุด (3) ผล การทดลองใช้หลักสูตร ครูมีความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่า ก่อนการใช้หลักสูตร เขียนแผนการเรียนการสอน ปฏิบัติการสอนระดับดี พึงพอใจในการใช้หลักสูตร ระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมิน การพัฒนาหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันมาก การนำหลักสูตรไปใช้มีความเหมาะสม ครูมีความรู้ ความสามารถ มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เกิดเครือข่ายทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย และองค์กรทางการศึกษามากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2541). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรมสุขภาพจิต.

จริยา วิไลวรรณ. (2550). คู่มือ “คุณ Fa”: วิทยากรกระบวนการผู้สร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(facilitator). ศูนย์จัดการความรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง สถาบันรัก

ลูก.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในชุมชน. [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. พริกหวานกราฟฟิก.

รชากานต์ เคนชมพู. (2555). ผลกระทบจากครูผู้สอนสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอกต่อผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณี

ศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดชัยภูมิ. [ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด].มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ร้อยเอ็ด.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2556). แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. บริษัทพิมพ์ดีจํากัด.

สุนีย์ คล้ายนิล. (2555). การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย: การพัฒนาและภาวะถดถอย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อภินันท์ เวทยนุกูล. (2551). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร “เทคนิคการออกแบบการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำ คัญ. ธรรมรักษ์การพิมพ์.

Ausubel, D. (1969). Educational psychology. Rinehart and Winston.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom.The George Washington University.

Taba, H. (1962). Curriculum development:Theory and practice. Harcourt Brace Jovanovich.