แนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

Main Article Content

ณัฐนันท์ เทียมเมฆ
เจษฎา ศาลาทอง

บทคัดย่อ

                งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเป็นกรอบในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ผลักดันนโยบายและผู้เชี่ยวชาญ จำ นวน 5 คน ร่วมกับการวิจัยเอกสารด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศต้นแบบ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลและสังเคราะห์เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยพบว่า ภาครัฐมีความจำ เป็นที่จะต้องพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ซึ่งประกอบไปด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) ส่งเสริมมาตรฐาน ความปลอดภัยให้กับแรงงานในกองถ่าย (2) คุ้มครองชั่วโมงการทำ งานที่เป็นธรรมให้กับแรงงานในกองถ่าย (3) สนับสนุนการรวมกลุ่มของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (4) พัฒนาหน่วยงานด้าน ภาพยนตร์ที่มีบทบาทต่อการกำ กับดูแลโดยตรง ผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดการทบทวนนโยบายโดยตระหนักถึงปัญหาของแรงงานบนพื้นฐานของความเข้าใจและ
การแก้ไขปัญหาในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และ วีดิทัศน์ของประเทศไทยในระยะที่ 3 (ปี พ.ศ. 2560 - 2564).กระทรวงวัฒนธรรม.

ฐณยศ โล่พัฒนานนท์, ดลยา เทียนทอง, จตุพร สุวรรณสุขุม, ซารีฮาน สุหลง และภาณุรักษ์ ต่างจิตร. (2564). แนวคิดโครงสร้าง และผลสัมฤทธิ์ของสภาภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักรและเกาหลีใต้. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 7(1), 40 - 58.

ณัฐนันท์ เทียมเมฆ และเจษฎา ศาลาทอง. (2565). การสำ รวจปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 85 - 109.

ณัฐนันท์ เทียมเมฆ. (2563). การสำ รวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ แรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2553). อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98: ทำ ไมต้องให้สัตยาบัน?.มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2564). รายงานการศึกษาการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี 2564. http://resource.

tcdc.or.th/ebook/CEA.Film.Report.pdf

Caldwell, J. T. (2008). Production culture: Industrial reflexivity and critical practice in film and television. Duke University Press.Safetyontheset.com. (2020). Television and feature production safety manual. https://safetyontheset.com/wp - content/uploads/2021/08/ Television - and - Feature - Production - Safety - Manual.pdf