แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ

Main Article Content

สุดาภรณ์ สมัครผล

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จังหวัดศรีสะเกษยังมี ปัญหาทางด้านการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้ มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาใน จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 30 คน 2) นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทย จำนวน 400 คน 3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำ นวน 30 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินศักยภาพ แบบสอบถาม และรายการประเด็นคำถาม การประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยว เชิงศาสนา 10 แห่ง มีศักยภาพค่อนข้างสูง 3 แห่ง ศักยภาพปานกลาง 5 แห่ง และศักยภาพค่อนข้างต่ำ 2 แห่ง 2) นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุระหว่าง 60 - 64 ปี มีภูมิลำ เนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาท่องเที่ยวเพื่อทำบุญ ไหว้พระหรืออธิษฐานขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์นิยมเดินทางในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เดินทางมาท่องเที่ยวร่วมกับครอบครัว โดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางรับรู้ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจากญาติหรือ ครอบครัว และนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดินทางท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุมีความต้องการด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านสถานที่ 3) แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรช่วยกัน    พัฒนาการท่องเที่ยวในลักษณะบูรณาการ    เช่น ต้องเน้นการพัฒนาระบบความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานและการบริการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะกับผู้สูงอายุรวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุโดยจังหวัดศรีสะเกษจะได้ประโยชน์จากการนำแนวทางพัฒนาไปใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เชิงศาสนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาจังหวัดและตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2557). แนวทางการดำ เนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี 2557. กรมการศาสนา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2549). การส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. http:// www.itd.or.th/th/ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2554). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดารารัตน์ ภูธร. (2563). RT Phone Home ถึงเวลาท่องเที่ยวอย่างใส่ใจ. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 6(1), 69-71.

ธนพล พรมสุวงษ์. (2562). เส้นทางท่องเที่ยวในมิติศาสนาบนถนนเยาวราช. วารสารสายตรงศาสนา,16(5), 38-42.

นะภาพร ทาระอาธร และศิริวรรณ กวงเพ้ง. (2564). ความพร้อมของจังหวัดร้อยเอ็ดสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูง

อายุ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 90-103.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2559). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior) (พิมพ์ครั้งที่ 3). ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวีณา งามประภาสม. (2560). การศึกษาศักยภาพและการเตรียมความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสำหรับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ชุมชนท่อง

เที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำ ปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,8(2), 177-190.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 35-43.

ภารดี นานาศิลป์. (2558). แกนความรู้การพยาบาลผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุคือใคร อายุ หรือ ปัจจัยใดช่วยกำหนด. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 42(พิเศษ),

-162.

มนชนก จุลสิกขี. (2562). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรี.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), 203-210.

ราณี อิสิชัยกุล และชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2552). การส่งเสริมการท่องเที่ยวผู้สูงอายุจากทวีปยุโรปสู่ประเทศไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (marketing management) ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552. บริษัท ธรรมสาร จำ กัด.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. คลังนานาวิทยา.

สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ.2561 - 2565 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนา

จังหวัด สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). แบบรายงานแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนาของจังหวัดศรีสะเกษ. สำนักงาน

วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำ รวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน, ครินธร ฐานันดรสุข และสานนิตย์ เจริญบุญประเสริฐ. (2564). การท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: การสำ รวจข้อจำ กัดทางการท่องเที่ยว กิจกรรม

นันทนาการและความตั้งใจในการเดินทางท่องเที่ยว. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก,10(1), 119-131.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. Wiley.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Dickman, S. (1997). Tourism: An introductory text. Holder Education.

Rovinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test Item validity.

American educational research association. https://files.eric.ed.gov/fultlext/ED121845.pdf.

Taherdoost, H. (2016). Sampling methods in research methodology; How to choose a sampling technique for research. International

Journal of Academic Research in Management (IJARM), 5(2), 18-27.