สหบทในนวนิยายเรื่อง อโศกสาง ของปราปต์

Main Article Content

ณัฐกมล กิจจุบาล
รัญชนีย์ ศรีสมาน

บทคัดย่อ

                  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้สหบทในนวนิยายเรื่อง อโศกสาง ของปราปต์โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากหนังสือนวนิยายเรื่อง อโศกสาง ของปราปต์ จำ นวน 1 เล่ม จำนวน หน้าทั้งหมด 424 หน้า จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2564ผลการศึกษาพบว่า ผู้แต่งมีการใช้สหบท 4 ลักษณะ มาประกอบสร้างเป็นตัวบทนวนิยาย ดังนี้ สหบทที่ปรากฏในวรรณกรรม และสหบททางวัฒนธรรม ได้แก่ ข่าว สื่อมวลชน เหตุการณ์ทางสังคม จากการ ใช้สหบทในลักษณะดังกล่าว มีผลต่อการสืบคดีของตัวละครตำรวจ การแสดงลักษณะนิสัยของฆาตกร ลำดับ เหตุการณ์ของคดีฆาตกรรม ภายในเรื่อง การไขคดี และลักษณะของตัวละคร ซึ่งผู้แต่งใช้สหบทที่ปรากฏ ในวรรณกรรมนิทาน ลีลาภาษาของผู้ประกาศข่าว และทางวัฒนธรรมมาประกอบสร้างเป็นนวนิยายเรื่อง อโศกสาง ด้วยการใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลมาปรับใช้อย่างกลมกลืนทำ ให้เนื้อเรื่องมีความพิเศษ น่าสนใจ และเกิดความร่วมสมัยกับความรู้ของผู้อ่านมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐกมล กิจจุบาล, สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Undergraduate students Department 

รัญชนีย์ ศรีสมาน, สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Lecturer, Department

References

ข่าวไทยพีบีเอส. (2565). ย้อนคดีค้ามนุษย์ “โรฮิงญา” ถึง พล.ต.ต.ปวีณ ปัญหาที่ยังซุกใต้พรม. https://news.thaipbs.or.th/content/312876.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2554). สหบท: มุมมองใหม่ในการวิเคราะห์ภาษาและวาทกรรม. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 29(2), 1 - 26.

ฉัตรชัย สุขุม (2553). ลักษณะสหบทในนวนิยายเรื่อง “กรูกันออกมา” ของปริทรรศหุตางกูร [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลธิชา ใจเสงี่ยม. (2562). สหบทในบท “ฝากรัก” ในเพลงลูกทุ่งไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 6 - 19.

เดอะสแตนดาร์ด. (2564). ถอดบทเรียน ‘นาฬิกาเพื่อน’ 4 ปีผ่านไป สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของสื่อและประชาชนอยู่ที่ไหน. https://thestandard.co/key - messages - lesson - of - prawit -wongsuwan - friend - watch/

ปราปต์. (2561). ลิงพาดกลอน. แพรวสำ นักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ปราปต์. (2564). อโศกสาง. แพรวสำ นักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ปาริฉัตร ภูพันธ์. (2553). อาชญนิยายไทย พ.ศ. 2541 - 2550. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 5(10), 53 - 65.

ลินิน แสงพัฒนะ. (2557). สัมพันธบทของตัวละครนางเอกในสื่อละครโทรทัศน์ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง แรงเงา [การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วุฒิพร ลิ้มวราภัส. (2562). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์และแนวหน้า [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ศนิชา แก้วเสถียร. (2550). สัมพันธบทใน ‘ผู้ชายคนที่ตามรักเธอทุกชาติ พิมพ์ครั้งที่ 85’ ของ

วินทร์ เลียววาริณ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 2(3), 50 - 57.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). Cyberbully คืออะไร? ส่งผลอย่างไร? และเราควรรับมือกับมันอย่างไรดี?. สำ นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สำนักงานแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2559). ปัญหาการค้ามนุษย์. สำ นักงานแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์.