การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของเลี่ยนหนีฉังจากนิยายกำลังภายในเรื่องนางพญาผมขาวสู่ละครโทรทัศน์เรื่องเดชนางพญาผมขาว ปี ค.ศ. 2012

Main Article Content

กนกวรรณ ว่องไว
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของเลี่ยนหนีฉังจากนิยายกำลังภายในเรื่องนางพญาผมขาวซึ่งประพันธ์โดยเหลียงอี่ว์เซิงสู่ละครโทรทัศน์เรื่องเดชนางพญาผมขาวในปี ค.ศ. 2012 ที่กำกับโดยหวงเหว่ยเจี๋ย ผลการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ของเลี่ยนหนีฉังประกอบด้วยสี่ปัจจัย ดังนี้ 1) พื้นหลังครอบครัวที่ไร้บิดา มารดา เลี่ยนหนีฉังดื่มนมสุนัขป่าตัวเมียจนเติบใหญ่ส่งผลสู่ภาพลักษณ์ความโหดเหี้ยม 2) ความสัมพันธ์กับตัวละครในเรื่อง นิยายกำลังภายในเรื่องนางพญาผมขาวพบตัวละครสองตัวคือ จั๋วอี้หังและนักพรตไป๋สือที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์เลี่ยนหนีฉัง ส่วนละครโทรทัศน์พบตัวละครสามตัวคือ จั๋วอี้หัง นักพรตไป๋สือและเถี่ยเฟยหลงที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์เลี่ยนหนีฉัง และ 3) เหตุการณ์ในเรื่องทั้งนิยายกำลังภายในเรื่องนางพญาผมขาวและละครโทรทัศน์เรื่องเดชนางพญาผมขาวในปี ค.ศ. 2012 ที่ส่งผลกระทบภายในเรื่องทำให้สะท้อนสู่ภาพลักษณ์ช่วยเหลือผู้อื่น เห็นใจผู้อื่น กตัญญู เสียสละและศรัทธาในความรัก เมื่อมีการนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์มีทั้งการคงเดิมภูมิหลังของครอบครัว การขยายความตัวละคร การตัดทอนภาพลักษณ์และการดัดแปลงเหตุการณ์ในเรื่อง ทั้งนี้ภาพลักษณ์เหล่านี้สามารถสะท้อนสู่เรื่องคุณธรรมขนบประเพณี 5 ประการ(五常)ของขงจื๊อและ 4) ยุคสมัยของทั้งสองเวอร์ชันต่างกัน จึงทำให้ภาพลักษณ์ของเลี่ยนหนีฉังต่างกันด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์. (2564). การศึกษาแนวคิดด้านความกตัญญูในลัทธิขงจื๊อผ่านคัมภีร์สี่จตุรปกรณ์.วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(1), 255-287.

จิรมน สังณ์ชัย. (2560). การดัดแปลงนวนิยายเรื่อง “รอยไหม” เป็นละครโทรทัศน์. อักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 265-287.

จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา. (2544). แปล แปลง และแปรรูปบทละคร. สำ นักพิมพ์สยาม.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2555). สัมพันธบทของบทละครเวทีเรื่องสาวิตรีและการสร้างสรรค์ใหม่เพื่อสื่อสารอุดมคติแห่งรัก [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีดา อัครจันทโชค. (2561). ความเป็นจีนในละครโทรทัศน์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 36(1), 1-20.

วิชยุตม์ ปูชิตากร. (2556). สัมพันธบทข้ามสื่อและข้ามวัฒนธรรม เรื่อง “ริง” ในนวนิยาย ภาพยนตร์ละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51415.

เพ็ญนภา ศรีบรรจง และ ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2563). การดัดแปลงนวนิยายเรื่อง “เพลิงบุญ”สู่ละคร โทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(3), 220-227.

สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2564). ภาพลักษณ์ของตัวละครหญิง เทพสตรีและปีศาจสาวในวรรณกรรมไซอิ๋วภายใต้ปิตาธิปไตย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(1), 66-106.

สมบัติ เครือทอง และ วิไล ศิลปะอาชา. (2558). ลัทธิขงจื๊อในภาษิตที่มีอิทธิพลต่อการมองโลกของคนสิงคโปร์. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 6(1), 13-42.