พฤติกรรมการการใช้โซเชียลมีเดียต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์และมีความแตกต่างกันต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยศึกษาจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยเอ็ดที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ จำนวน 314 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามมีค่าความตรงของเนื้อหา0.79 - 0.85 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอบบาค 0.93 โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi square และหาความแตกต่างด้วยสถิติ ANOVA ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละวันของผู้สูงอายุ ช่วงเวลาในการใช้โซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุ และวัตถุประสงค์ของใช้โซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมอย่าง มีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวันช่วงเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย ระยะเวลาของการใช้โซเชียลมีเดียและวัตถุประสงค์ของใช้โซเชียลมีเดียแตกต่างกันมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การใช้โซเชียลมีเดียในแต่ละวัน ช่วงเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย และวัตถุประสงค์ของใช้โซเชียลมีเดียแตกต่างกันมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. https://dmh.go.th/test/whoqol/
กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กานดา รุณนะพงศา. (2557). ความหมายโซเชียลมีเดีย. https://www.gotoknow.org/posts/567331%5B2
กายกาญจน์ เสนแก้ว. (2560). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฐิตินันทน์ ผิวนิล. (2559). การเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและการสื่อสารออนไลน์ของผู้สูงอายุไทย.วารสาร กสทช.ประจำ ปี 2559, 1(1), 411-414.
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. (2562). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพ.ศ.2558 - 2562. https://roietmunicipal.go.th/roiet/category/
บังอร ธรรมศิริ. (2549). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการเวกฉบับนิทรรศการวันเจ้าฟ้า.
ประวิตร จันอับ. (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก [ปริญญาศึกษามหา
บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและการ สื่อสารศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เปรมศักดิ์ อาษากิจ. (2556). ตลาดผลิตภัณฑ์และบริการสำ หรับผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ระวิ แก้วสุกใส และ ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีเฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราช
นครินทร์, 5(4), 197-215.สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยา. ไทยวัฒนาพานิช.
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social media) ของประชาชนในเขต
กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Holloman, C. (2013). The social media MBA. John Wiley & Son.
White, C. M. (2012). Social media, crisis communication, and emergency management. Taylor & Francic Group.