การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละ 2) เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละอำ เภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน 3) เพื่อทดลองใช้และขยายผลการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละ และ4) เพื่อประเมินการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารศึกษานิเทศก์ครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละอำ เภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำ พูนเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกการสนทนากลุ่มแบบประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบประเมินประสิทธิภาพแบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและแบบประเมินการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. โรงเรียนบ้านห้วยหละอำ เภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำ พูนมีสภาพปัญหาในการดำ เนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่ามีนักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหามีนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่น นักเรียนมีปัญหาการแต่งกายไม่เรียบร้อยความประพฤติไม่เหมาะสมมีพฤติกรรมก้าวร้าวนักเรียนเสี่ยงต่อการเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดประกอบกับข้อมูลจากการประชุมและสะท้อนปัญหาร่วมกันของคณะครูในโรงเรียนพบว่าสิ่งที่ทำ ให้การดำ เนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละยังไม่ประสบผลสำ เร็จเกิดจากปัจจัยภายในองค์กรซึ่งเป็นจุดอ่อนของโรงเรียนคือความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูกระบวนการและวิธีการในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือมีการเปลี่ยนครูที่ปรึกษาทุกปีและครูไม่สามารถติดตามดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้แก้ไขปัญหา ผู้เรียนไม่ถูกจุดส่งผลให้โรงเรียนมีความต้องการจำ เป็นในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้ ครูผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำ เนินการในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเพื่อให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละมีแนวทางการดำ เนินงานที่มีการนำ วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ 2) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละอำ เภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำ พูนประกอบไปด้วยหลักการและเหตุผลวัตถุประสงค์แนวทางและวิธีปฏิบัติและขั้นตอนการดำ เนินงานของระบบผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบระบบพบว่าองค์ประกอบมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการตรวจสอบความถูกต้องความเหมาะสมความเป็นไปได้และการใช้ประโยชน์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหละมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้และการขยายผลการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละพบว่าระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหละมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ และผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด4) การประเมินการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละพบว่าทั้งด้านบริบทปัจจัย
นำ เข้ากระบวนการผลผลิตและผลกระทบมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 - ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6). กรมสุขภาพจิต.
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. บุ๊ค พอยท์.
ทักษิณ วงศ์ฉลาด. (2553). การพัฒนาการดำ เนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวโคก (บัวโคกราษฎร์วิทยาคม) อำ เภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. โรงเรียนบ้านบัวโคก(บัวโคกราษฎร์วิทยาคม).
ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษาของชุมชน.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรทม รวมจิตร. (2553). การดำ เนินงานระบบดูแลช่วยเหลือโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4.
สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35. (2562). คู่มือการดำ เนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและคุ้มครองนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน.โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
อมรรัตน์ อุดแก้ว. (2554). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนยางคำ พิทยาคม. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 4.
Bryman, A. (1986). Charisma and leadership in organization. Sage Publications.