จิตรกรรมภูมิทัศน์ทะเลน้อย : ความสมดุลแห่งสุนทรียศิลป์

Main Article Content

ปัทมาสน์ พิณนุกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะระบบนิเวศภูมิทัศน์ต่อการดํารงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในทะเลน้อย เพื่อนําไปสร้างสรรค์จิตรกรรมแห่งสุนทรียศิลป์ โดยเลือกศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานนกน้ำทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่วิถีธรรมชาติที่มีความสมดุลทางระบบนิเวศวัฒนธรรมในมิติที่มีปฏิสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง เช่น มนุษย์ สัตว์น้ำ ควายน้ำ พันธุ์พืชลอยน้ำ วงศ์นกน้ำ  เป็นต้นผลการวิจัยงานสร้างสรรค์ 1) ลักษณะระบบนิเวศธรรมชาติ ภูมิทัศน์ของสรรพสิ่งมีชีวิตในวิถีชีวิตจากพื้นที่ชุ่มน้ำาทะเลน้อย แทนความหมาย “พื้นที่แห่งชีวิต” ที่เปรียบเสมือน “พื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำ” อันเป็นศูนย์รวมและบ่อเกิดแห่งสรรพสิ่งชีวิตในมิติปรากฏการณ์นิเวศวิทยาวัฒนธรรม และนิเวศทางธรรมชาติที่มองเห็นถึงวิถี การดํารงความสัมพันธ์ และการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนระหว่างสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม 2) สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ผ่านรูปลักษณ์ การสื่อความหมายภาพตัวแทนที่แสดงความงามทางสุนทรียภาพ 2.1) การสร้างความหมายผ่านเนื้อหา รูปทรงพืชพันธุ์ และสัตว์สัญลักษณ์ 2.2) การสร้างความหมายผ่านบรรยากาศของสี เทคนิคลวดลายพิมพ์สกรีน และดิจิทัลอาร์ต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กําจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจภักดิ์ อ่อนงาม. (2551). การค้นพบความงามและความจริงบนเส้นทางในการสร้างสรรค์ศิลปะของโกลด โมเน. วารสารวิจิตรศิลป์, 1(2).

ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2561). นิเวศวิทยามนุษย์: การศึกษาสิ่งแวดล้อมในมิติของสังคมและวัฒนธรรม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณฤณีย์ ศรีสุข. (2564). นิเวศวิทยาวัฒนธรรมเชิงพุทธบรูณาการ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำ ปาง, 10(2).

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2563). สาระ พรรณพฤกษาพื้นถิ่นทะเลน้อยในอุดมคติ. รายงานจากงานประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย, การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัยครั้งที่ 6 (หน้า 406-418). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2560). สุนทรียศาสตร์. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2542). ทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำ คัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย.

สำ นักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม.

อภิรักษ์ สงรักษ์ และเกสศิณีย์ แท่นนิล. (2549). ทัศนคติของชาวประมงทะเลพื้นบ้านต่อการส่งเสริมประมง: กรณีศึกษาในอำ เภอสิเภา จังหวัดตรัง. รายงานการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2549 กรมประมงร่วมกับศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรมประมง.

Curtin, B. (2009). Semiotics and visual representation. Academic Journal of Architecture, 1.