ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ซอ ซึง คณะล่องน่าน ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ธีระพงษ์ ทัพอาจ
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ประวัติความเป็นของวงดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ซอ ซึง คณะล่องน่าน ตำ บลจริม อำ เภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และภาคสนามด้วยการสังเกต และการสัมภาษณ์จากผู้รู้ หัวหน้าคณะ นักดนตรีอาวุโส นักดนตรี ผู้จ้าง และผู้ชมนำ เสนอผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ ด้านประวัติความเป็นมา พบว่ามีการสืบทอด 3 ยุค โดย คุณตาสว่าง รินสาร และญาติพี่น้อง ได้ตั้งวงดนตรีสะล้อ ซอ ซึง ขึ้นจึงเรียกกันติดปากว่า วงดนตรีพื้นบ้าน สะล้อ ซอ ซึง ตาสว่างได้สืบทอด และถ่ายทอดให้ลูกหลานเล่นดนตรีสะล้อ ซอ ซึง สืบมา เมื่อตาสว่าง รินสาร ถึงแก่กรรรมจึงได้ถ่ายทอด วิชาความรู้ให้กับนางจ๋า อินทะจันทร์ และถ่ายทอดให้ลูกชายนายไตรรงค์ อินทะจันทร์ หัวหน้าวงคน ปัจจุบัน ซึ่งได้ประยุกต์ใช้วงดนตรีสากลบรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นบ้าน และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ ผู้เล่นมีความสามารถเล่นเพลงได้มากขึ้นทั้งบรรเลงประกอบการรำ และด้นสด โดยนักดนตรีปรับเปลี่ยนนำ สายกีต้าร์ไฟฟ้ามาใส่และแปลงเสียงออกเครื่องขยาย บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล นักร้องหรือช่างซอมีความสามารถแต่งเพลงและด้นสดได้ มีการปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ประเพณีและพิธีกรรม โดยมีปัจจัยมาจากการปฏิสัมพันธ์ ทางวัฒนธรรมและสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2560). ประชุมบทความวิชาการดนตรี 60 ปี. โครงการตำ ราบัณฑิตศึกษา คณะ

ศิลปกรรมศาสตร์สาขาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุษกร สำ โรงทอง. (2549). ความเชื่อ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีไทย ภาค

เหนือ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและการเข้าสู่ดนตรีไทย. ภาควิชาดนตรีศึกษาครูบ้านสมเด็จ

เจ้าพระยา.

สนิท สมัครการ. (2538). การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม. โครงการส่งเสริม

เอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์