ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

โชติมากานต์ ไชยเยศ
ปานวาด ปรียานนท์
นงลักษณ์ โพธิ์น้อย
พรเพ็ญ ทองกันยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2564 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 21,347 คน โดยใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 393 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบง่าย มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย 3) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามกรอบแนวคิดของภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและระดับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก ทำการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล โดยใช้สถิติ t-test และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่มีชั้นปีที่กำลังศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม และการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาต่างกันมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรที่ 21 แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณด้วยการคัดเลือกแบบลําดับขั้น พบว่าปัจจัยด้านผู้เรียน การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และกระบวนการจัดการเรียนรู้ สามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาได้ร้อยละ 61.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิติยาภรณ์ เชาวรากุล. (2563). คุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของสถานประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 100-111.

ดนัย อังควัฒนวิทย์. (มีนาคม, 2562). Simulation การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในโรงเรียนแพทย์.

https://med.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/08jan2020-1639

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, อัญชนา วิชช์วัฒนางกูร, อุษา จันทร์แย้ม, สุธาสินี เจียประเสริฐ. (2565). ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราชสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 119-133.

พิชากรณ์ เพ่งพิศ, ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา, และ นพพร จันทรนําชู. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 319-338.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2563-2566 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2564).

https://mahidol.ac.th/th/plan63-66/

รุ่งนภา จันทรา, และ อติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา

พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ

การสาธารณสุขภาคใต้, 4, 180-190.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดชุมชนแห่ง

การเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ศูนย์ผู้นำ นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สุดกัญญา ปานเจริญ, นิธิมา สุภารี, และ สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. (2563). ปัจจัยสนับสนุนการเรียน

รู้ที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(1), 1-10.

Atabey, N., & Topcu, M.S. (2021). The relationship between Turkish middle school students’21st century skills and STEM career interest: Gender effect. Journal of Education in Science, Environment and Health, 7(2), 86-103.

Bonaccio, S., O’Reilly, J., O’Sullivan, S.L., & Chiocchio, F. (2016). Nonverbal behavior and communication in the workplace: A review and an agenda for research. Journal of Management, 42(5), 044-1074.

González-Pérez, L.I., & Ramírez-Montoya, M.S. (2022). Components of education 4.0 in 21st century skills frameworks: Systematic review. Sustainability, 14, 1493. https://doi.org/10.3390/su14031493

González-Salamanca, J.C., Agudelo, O.L. & Salinas, J. (2020). Key competences, education for sustainable development and strategies for the development of 21st century skills. A systematic literature review. Sustainability,12(24), 10366. https://doi.org/10.3390/

su122410366

Habets, O., Stoffers, J., Heijden, B.V.D., & Peters, P. (2020). Am I fit for tomorrow’s labor market? The effect of graduates’ skills development during higher education for the 21st century’s labor market. Sustainability, 12, 7746. doi:10.3390/su12187746

Miranda, J., Navarrete, C., Noguez, J., Molina-Espinosa, J.M., Ramírez-Montoya, M.S.,Navarro-Tuch, S.A., Bustamante-Bello, M.R., Rosas-Fernández, J.B. & Molina, A.(2021). The core components of education 4.0 in higher education: Three case studies in engineering education. Computers & Electrical Engineering, 93, 107278. https://doi.org/10.1016/j.compeleceng.2021.107278

Suh, J., Matson, K., Seshaiyer, P., Jamieson, S., & Tate, H. (2021). Mathematical modeling as a catalyst for equitable mathematics instruction: Preparing teachers and young learners with 21st century skills. Mathematics, 9, 162. https://doi.org/10.3390/

math9020162

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). Learning and innovation skills 21st century skills learning for life in our times. Jossey-Bass.

van Laar, E., van Deursen, A.J.A.M., van Dijk, J.A.G.M., & Haan., J. (2017). The relation between 21st century skills and digital skills: A systematic literature review.Computers in Human Behavior, 72, 577e588, 577-588. http://dx.doi.org/10.1016/j.chb.2017.03.010