สื่อสร้างสรรค์: มิตรภาพสำหรับเด็กในวิถีพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้

Main Article Content

จิราพร เกียรตินฤมล
อนุชา แพ่งเกษร

บทคัดย่อ

                 ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อการสร้างมิตรภาพสำ หรับเด็กในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำ คัญในพื้นที่กรณีศึกษาจำ นวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงในพื้นที่จังหวัดยะลา เครื่องมือการวิจัยได้แก่ วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบการจำ แนกชนิดข้อมูลโดยวิเคราะห์กลุ่มคำสำคัญ ผลการศึกษาตามกรอบแนวความคิดพบว่า 1) ประเภทของสื่อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2) ประโยชน์ของสื่อ ทำ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกฝังมิตรภาพให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี 3) สื่อที่ส่งผลต่อเด็ก ในพื้นที่จังหวัดยะลามีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมการรับรู้สื่อของเด็กจึงไม่เหมือนกัน ซึ่งมีสื่อบางประเภทที่ยังมีข้อจำ กัดของศาสนา และภาษา สรุปได้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่เด็กในพื้นที่สนใจและเป็นที่นิยม โดยเฉพาะเด็กไทยเชื้อสายมุสลิมที่ยังคงใช้ภาษามลายูถิ่น รวมถึงสื่อประเภทดนตรีเด็กจะฟังและขับร้องเพลงอนาซีด เด็กไทยพุทธและเด็กไทยเชื้อสายจีนจะมีการเรียนรู้สื่อใกล้เคียงกัน เด็กไทยเชื้อสายจีนจะมีการเรียนรู้แฝงของภาษาจีน ดังนั้นครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่เป็นช่องทางการของสื่อที่สามารถส่งสารให้เด็ก และปลูกฝังมิตรภาพโดยการใช้สื่อที่เหมาะสมในพื้นที่ชายแดนใต้ให้กับเด็กได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฆนาธร ขาวสนิท และ ณัฐมน สุนทรมีเสถียร. (2564). ทบทวน ‘ภูมิทัศน์แห่งมิตรภาพ’ เมื่อบางการ‘จัดลำ ดับความสัมพันธ์’ ดูเหมือนจะใจจืดใจดำ กันเกินไป. https://becommon.co/life/thought-friendscape/

โชคชัย วงษ์ตานี. (2555). ความหลากหลายที่ไม่หลากหลาย:การจัดการในการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วารสารมานุษยวิทยา, 4(1), 117-153.

ชนม์ธิดา ยาแก้ว และคณะ. (2561). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก. ศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 1-14.

ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ. (2564). สถานการณ์เด็ก เยาวชนและผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้.-ยะลา.ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศป.ดส.) ภายใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.). https://peaceresourcecollaborative.org/

wp-content/uploads /2021/11/2021

บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต, 14(2), 46-58.

พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย พ.ศ.2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา. 42-30.

พัชราภรณ์ เอื้อจิตรเมศ. (2560). การอนุรักษ์และพัฒนาเพลงอนาชีดของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 253-266.

ภัทริยา วิริยะศิริวัฒนะ. (2559). รูปแบบและระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 15(2), 168-205.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. 2563-2565. https://www.isoc5.net/files/strategy

วีรญา อังศุธรถาวริน และ จอมเดช ตรีเมฆ. (2561). การศึกษาวิจัยการลดความเสี่ยงและความสูญเสียในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารกระบวนการยุติธรรม, (11), 121-132.

วสันต์ ภัยหลีกลี้. (2561). งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย.ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2562). อนาคต/ทิศทางการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. (2564). เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้.https://deepsouthwatch.org/th

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2543). ผู้นำ ความขัดแย้งและความรุนแรง: สภาวการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารรูมแล, 21(2), 37-46.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2561). โครงการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัด

ชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th /tu_dc/frontend/Creator/personDc/53585

สรานนท์ อินทนนท์. (2561). การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง. มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

BBC NEWS. (2565). กราดยิงหนองบัวลำ ภู: อดีตตำ รวจกราดยิงศูนย์เด็กเล็ก สังหาร 36 ชีวิต ตำรวจชี้ แรงจูงใจมาจากเครียดสะสมและทะเลาะภรรยา. https://www.bbc.com/thai/thailand-63155949

Agree, W. K., Ault P. H., & Emery, E. (1976). Introduction to mass communication. Harper & Row.

BBC NEWS ไทย. (2561). 14 ปี ไฟใต้ ความรุนแรงลดลง แต่ นักสิทธิฯชี้การซ้อมทรมานยังมี. https://www.bbc.com/thai/thailand-42562915