ผลกระทบทางภาษีอากรจากการทำลายสินค้าและขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด

Main Article Content

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์

บทคัดย่อ

                  ในการประกอบธุรกิจ เมื่อผู้ประกอบการมีสินค้าที่ล้าสมัย มีตำหนิ เสื่อมสภาพ หรือชำรุดเสียหาย กิจการอาจจำเป็นต้องเลือกปฏิบัติกับสินค้าเหล่านั้นโดยวิธีการทำลายสินค้า หรือการขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรับรู้รายได้ในการคำนวณภาษีอากรของธุรกิจ บทความนี้ได้รวบรวมและนำเสนอข้อหารือของกรมสรรพากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติดังกล่าวเพื่อให้ข้อแนะนำผู้ประกอบการได้ทราบถึงแนวปฏิบัติที่ถูกต้องและสอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมสรรพากร จากการศึกษาพบว่า ในภาวะปกติผู้ประกอบการต้องขายสินค้าในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาตลาดที่สามารถพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเชื่อถือได้อย่างชัดเจน แต่ในบางกรณีผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด นั่นคือ การขายสินค้าที่เสื่อมสภาพ ล้าสมัย ชำรุด หรือใกล้หมดอายุ เพื่อให้มีเหตุผลอันสมควรที่กรมสรรพากรยอมรับตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 ผู้ประกอบการจะต้อง (1) มีหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าสินค้าดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเป็นสินค้าที่เสื่อมสภาพ ล้าสมัย ชำรุด หรือใกล้หมดอายุจริงตามแนวทางที่กิจการกำหนดไว้ และ (2) กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชีลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย และเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี และสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจะทำลายสินค้าของกิจการ ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติการทำลายสินค้าจากกรมสรรพากร เพียงแต่แจ้งให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันทำลาย โดยกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชีร่วมเป็นพยานในการทำลายสินค้า ส่วนการเข้าสังเกตการณ์ของผู้สอบบัญชีนั้นอาจจำเป็นหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และหลักฐานที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมสรรพากร. (2541). คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541. ค้นเมื่อ 2 กันยายน2565 จาก https://www.rd.go.th/3575.html.

กรมสรรพากร.( 2542). ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าต่ำกว่าราคาต้นทุน. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565 จาก https://www.rd.go.th/23386.html.

กรมสรรพากร. (2545.) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.113/2545 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีการกำหนดราคาโอนให้เป็นไปตามราคาตลาด. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2565 จาก https://www.rd.go.th/3539.html.

กรมสรรพากร.(2550 ก). ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565 จาก https://www.rd.go.th/37238.html.

กรมสรรพากร.(2550 ข). ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายของเสีย. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q=%B7%D3%C5%D2%C2%CA%D4%B9% A4%E9%D2;t=5;field=1;page=3;long=1.

กรมสรรพากร.(2551). ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายสินค้า. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q=%B7%D3%C5%D2%C2%CA% D4%B9%A4%E9%D2;t=5;field=1;page=4;long=1.

กรมสรรพากร.(2558). ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขออนุมัติขายสินค้าล้าสมัย. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2565 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q=%CA%D4%B9%A4%E9%D2%C5% E9%D2%CA%C1%D1%C2;t=5;field=1;page=1;long=1.

กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. (2565). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2565. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

กวินทิพย์ บุญสร้าง. (2565). บัญชีภาษีอากร Tax Accounting การกระทบรายได้และรายจ่ายทางบัญชีและทางภาษีอากร. กรุงเทพฯ: บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด.

ชุมพร เสนไสย. (2560). เคาะปัญหากับสาระ VAT (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมนิติเพรส จำกัด.

บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษี และฝึกอบรม จำกัด. (2550). Tax Knowledge : ขายสินค้าต่ำกว่าทุน. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565 จากhttps://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article &Id=538617814&Ntype=129.

มนวิภา ผดุงสิทธิ์. (2652). การบัญชีต้นทุน Cost Accounting. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย เลิศภิรมย์สุข. (2563). SMEs บัญชีเดียว. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมนิติ เพรส จำกัด.

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2563). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2563. อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด มงคลเจริญเลเซอร์ปริ้น.