ผลการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูฟิสิกส์ โดยใช้บทปฏิบัติการออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์วิดีโออัตราเร็วสูง เรื่อง การชนและโมเมนตัม

Main Article Content

จิราภรณ์ ปุณยวัจน์พรกุล
ชาญวิทย์ คำเจริญ
ณัฏฐนันท์ เรียบเรียง
กมลพรรณ เมืองมา

บทคัดย่อ

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทปฏิบัติการออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์วิดีโออัตราเร็วสูง เรื่อง การชนและโมเมนตัม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูฟิสิกส์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมืองานวิจัย ได้แก่ บทปฏิบัติการออนไลน์ เรื่อง การชนและโมเมนตัม และแบบวัดสมรรถนะ การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทปฏิบัติการออนไลน์ เรื่อง การชนและโมเมนตัม ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์วิดีโออัตราเร็วสูง มีประสิทธิภาพของกระบวนการด้วยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.67 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ด้วยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ75.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำ หนด คือ 75/75 และผลการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานของนักศึกษาครูฟิสิกส์ พบว่า หลังปฏิบัติกิจกรรมนักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูล และการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการปฏิบัติกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ปุณยวัจน์พรกุล และวิไลพร ลักษมีวาณิชย์. (2562). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วิดีโอความเร็วสูงกรณีศึกษาการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 71 - 84.

จารุนันท์ พาภักดี และสุมาลี ชูกำ แพง. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูล และประจักษ์พยาน ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10),248 - 260.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

พีรภาส ถุงเสน สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ และวิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์. (2564). การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์ พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง พอลิเมอร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการเขียน ทางวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 138 -152.

โสภา มั่นเรือง และจรินทร อุ่มไกร. (2559). A Development of Science Subject to Conqure Achievement of Grade 5 Students by Using STEM Education Case Study of Suphannapoom School.การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2, 30-31 มีนาคม

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อภิสิทธิ์ ธงไชย ขวัญ อารยะธนิตกุล เชิญโชค ศรขวัญ นฤมล เอมะรัตต์ และรัชภาคย์ จิตต์อารี. (2550).การประเมินผลการเรียนรู้แบบใหม่โดยการใช้ผลสอบก่อนเรียนและหลังเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิชาการ, 11, 86 - 94.

Bao, W. (2020). How to cite this article: Bao W. COVID-19 and online teaching in highereducation: A case study of Peking University. Human Behavior and EmergingTechnologies, 2(2), 113-115.

OECD. (2019). How are PISA results related to adult life outcomes?. OECD Publishing, Paris.Poonyawatpornkul,J., & Wattanakasiwich,P. (2013). High-speed video analysis of dampedharmonic motion. Physics Education, 48(6), 782-789.