การทำอัตวินิบาตกรรมของตัวละครเอกหญิงในนวนิยายเรื่องตงกง (东宫) ของ เฝยหว่อซือฉุน (匪我思存)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในเรื่องตงกง (东宫) ของเฝยหวอซือฉุน (匪我思存) ผู้ประพันธ์บอกเล่าเรื่องราวของตัวละครเอกหญิงที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ในตัวบทนำเสนอโศกนาฏกรรมรักซึ่งเกิดจากการที่ตัวละครเอกชายก่อเหตุรุนแรงและอาชญากรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ของเธอ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ การใช้คำอธิบายด้านจิตวิทยา เช่น การสูญเสียความทรงจำ และบาดแผลฝังใจจากการถูกทรยศ เพื่อประกอบการวิเคราะห์การทำอัตวินิบาตกรรมของตัวละครเอกหญิง ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครเอกหญิงรับมือกับการสูญสิ้นชาติพันธุ์ด้วยการใช้ความตายเป็นทางออก โดยมีความตายในสองลักษณะ คือ ความตายในเชิงอุปลักษณ์และความตายในเชิงกายภาพ ลักษณะแรกเป็นความตายผ่านการหลงลืมด้วยการกระโดดลงสู่ ‘สายธารลืมเลือน’ เพื่อให้สายน้ำ ลบเลือนความทรงจำ ต่อความสูญเสียและความเจ็บปวด อันจะนำไปสู่การเกิดใหม่ที่ปราศจากพันธะของกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ความทรงจำ ดังกล่าวได้หวนกลับมาหลอกหลอนตัวละครเอกหญิงอีกครั้ง เนื่องจาก ตัวละครเอกหญิงไม่อาจปฏิเสธหรือละทิ้งชาติพันธุ์ของเธอได้ การที่ตัวละครเอกหญิงจดจำ ความรุนแรงและความเจ็บปวดเพื่อเผยให้เห็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างมิติของชาติพันธุ์กับความรักแบบหนุ่มสาว ท้ายที่สุด ตัวละครเอกหญิงเลือกที่จะทำอัตวินิบาตกรรมอีกครั้งเพื่อแสดงการขัดขืนหรือไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อาณัติของตัวละครเอกชายผู้บุกรุกและทำลายชาติพันธุ์ของเธอ การนำเสนอเช่นนี้เพื่อขับเน้นการมีตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น
Article Details
References
มาโนช หล่อตระกูล. (2565). “โรคซึมเศร้าโดยละเอียด” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล. www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/
-1017.
Bai Huiyin. (2019). Shuangxi Chunwan chou guichù Yu Shu Fengzhou Zong Nuexin—Yi “Dong
Bai Jianzhong. (2011). Shuo “Mengpo”. Gudian Wenxue Zhishi, (3), 155-157.
Caruth, C. (2021). Unclaimed experience: Trauma, narrative, and history. ebookcentral.proquest.
com/lib/upenn-ebooks/detail.action?docID=3318659
Chinese text project. (2022). Liji: Tangongshang - Zhongguo Zhexueshu Dianzihua Jihua. (ctext.
org/liji/tan-gong-I)
Fei Wo Si Cun. (2017). Dong Gong. Jiangshu Fenghuang Wenyi Chubanshe.
Freyd, J.J. (2010). Betrayal trauma: Traumatic amnesia as an adaptive response to childhood
abuse. doi.org/10.1207/s15327019eb0404_1
Gong” Wei Li Tanxi Fei Wo Si Cun de aiqing xushi”. Henán Muye Jingji Xueyuan Xuebao,
(4), 48-52.
Herman, J. (2015). Trauma and recovery: The aftermath of violence - From domestic abuse to
political terror. Basic Books.
International Dictionary of Psychoanalysis. (2019). “Wish-fulfillment”. cited in Sigmund Freud,.
(1900a). The Interpretation of Dreams, 4, 1-338.
Northwestern Medicine. (2022a). How the brain hides memories. www.nm.org/healthbeat/
medical-advances/how-the-brain-hides-traumatic-memories
Northwestern Medicine. (2022b). Memory loss. medlineplus.gov/ency/article/003257.html
The Editors of Encyclopaedia Britannica. (2022). Repression. www.britannica.com/topic/
defense-mechanism
Zhongguo Lishi Da Cidain Bianzuan Weiyuanhui. (2000). Zhongguo Lishi Da Cidian. Shanghai
Cishu Chubanshe.