การศึกษากระบวนการยอมรับเพศสถานะและเพศวิถีของลูก: กรณีศึกษาแม่ที่ มีลูกเป็นกะเทยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 5 คน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการยอมรับเพศสถานะและเพศวิถีของลูกหลังจากแม่รับรู้ว่าลูกเป็นกะเทย 2) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้สึกของแม่ที่มีลูกเป็นกะเทยภายหลังการรับรู้ว่าลูกเป็นกะเทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมายจากแม่ที่มีลูกเป็นกะเทยในจังหวัดเชียงใหม่จำ นวน 5 คน จากการคัดเลือก กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษาประเด็นที่ 1 พบว่าแม่ที่มีลูกเป็นกะเทยมีกระบวนการ การยอมรับเพศสถานะและเพศวิถีของลูกจากการสั่งสมการรับรู้เรื่องเพศสถานะและเพศวิถีของลูกตั้งแต่เด็กโดยการสังเกตพฤติกรรมของลูก ประกอบกับลักษณะนิสัย ความประพฤติความสามารถและความสำ เร็จในทางที่ดีของลูกและเติบโตไปเป็นคนดีของสังคม แม่จึงสามารถมองข้ามเรื่องเพศได้ประเด็นที่2แม่สามารถจัดการกับความรู้สึกในเชิงลบได้จาก “การทำ ใจ” หมายความถึงความรู้สึกในเชิงลบแล้วผ่านกระบวนการจัดการความรู้สึกนำ ไปสู่ความรู้สึกในเชิงบวกโดยการสังเกตพฤติกรรมลูกตั้งแต่เด็ก เป็นเหตุผลที่สนับสนุนกระบวนการปรับความรู้สึกโดยการมองข้ามเรื่องเพศสถานะและเพศวิถีของลูก
Article Details
References
ชานันท์ยอดหงษ์. (2561). LGBTtourism:Thailand as a vagaytio.จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 4(3), 12-17.
ชุติมาโลมรัตนานนท์(2555). การปรับอัตลักษณ์ความเป็นแม่ในอุดมคติกับความเป็นจริง: ศึกษาเฉพาะกรณีสตรีวัยทำ งานในกรุงเทพมหานคร [บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ปริญญาอยู่เป็นแก้ว(2552). การตัดสินใจอยู่เป็นโสดของผู้หญิงในยุคโลกาภิวัตน์ [วิทยาลัยสหวิทยาการ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ปาวดีสีหาราช(2552). การวิเคราะห์การนำ เสนอภาพลักษณ์ของแม่ในนิตยสารสำ หรับแม่และเด็ก[วิทยาลัยสหวิทยาการ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
สวัสดิ์สมวัชรจิต (2541). บทบาทของสถาบันครอบครัวในการแก้ไขพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนกรมสามัญศึกษา อำ เภอบ้านดุง [จังหวัดอุดรธานี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
อภิญญาเฟื่องฟูสกุล. (2561).อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด = Identity. คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา สำ นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อรุณีศุทธิชัยนิมิต. (2558). ประสบการณ์ด้านจิตใจของสมาชิกในครอบครัวภายหลังการเปิดเผยตนเองของผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brainer, A. (2017). Mothering gender and sexually nonconforming children in Taiwan. Journal of Family Issues, 38(7), 921.
Chodorow, N. (1978). The reproduction of mothering: psychoanalysis and the sociology of gender. University of California Press.
Grafsky, E. L. (2014). Becoming the parent of a GLB son or daughter. Journal of GLBT Family
Studies, 10(1), 36-57.
Horwitz, E. & Long, B. (2005). Mothering and stress discourses, Motherhood: power and oppression. Women’s Press.
Rich, A. C. (1995). Of woman born: Motherhood as experience and institution. Norton.
Tamagawa, M. (2018). Coming out to parents in Japan: A sociocultural analysis of lived experiences. Sexuality & Culture, 22(2), 497-520.
Tomas, A. (2001). Swimming against the tide feminists’ accounts of mothering sons, MOTHERS & SONS feminism, masculinity, and the struggle to raise our sons. Routledge.